Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการนำแผนงานและนโยบายสู่การปฏิบัติจริงและยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนนาทวีวิทยาคม

ผู้วิจัย ว่าที่ ร.อ.ไพรินทร์ ธีระกุล

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 11 เมษายน 2568

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง   :   การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการนำ

               แผนงานและนโยบายสู่การปฏิบัติจริงและยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียน

               นาทวีวิทยาคม

ผู้วิจัย     ว่าที่ ร.อ.ไพรินทร์ ธีระกุล

ปีที่วิจัย   2567

 

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการนำแผนงานและนโยบายสู่การปฏิบัติจริงและยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนนาทวีวิทยาคม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 7 คน ครูผู้สอน 114 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 14 คน และนักเรียน 40 คน ของโรงเรียนนา‍ทวีวิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความต้องการจำเป็น แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนา แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบ แบบประเมินสมรรถนะครู และแบบประเมินคุณภาพผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

        ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก    (x-bar = 4.37, S.D. = 0.57) โดยด้านการพัฒนาทักษะและการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar = 4.51, S.D. = 0.42) สภาพปัญหาหลักคือครูมีภาระงานมาก ขาดการติดตามผลที่เป็นระบบ และทรัพยากรสนับสนุนไม่เพียงพอ 2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ได้รูปแบบ "NATHAWEE Model" ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ เน้นการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานจริง (2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของครูในการนำแผนงานไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) ขั้นตอนการบริหารจัดการ 8 ขั้นตอนหลัก (N: พัฒนาเครือข่าย A: จัดให้เป้าหมายสอดคล้อง T: ฝึกอบรมและพัฒนา H: สร้างความสุขในการปฏิบัติงาน A: ประเมินและติดตามผล W: บูรณาการงานสู่ชั้นเรียน E: สร้างการมีส่วนร่วม E: เสริมสร้างพลังความสำเร็จ) และ (4) ระบบสนับสนุน 3T-System (T1: ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง T2: สร้างรอยต่อการปฏิบัติงาน T3: การใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ) โดยรูปแบบมีความสอดคล้องและเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.83, S.D. = 0.37) 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.39, S.D. = 0.54) โดยสมรรถนะครูด้านการนำแผนงานสู่การปฏิบัติจริงในชั้นเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar = 4.47, S.D. = 0.54) สมรรถนะครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.07, S.D. = 0.15) และคุณภาพผู้เรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 3.71, S.D. = 0.16) 4) ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.54, S.D. = 0.60) และความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.56, S.D. = 0.55)

คำสำคัญ: การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์, สมรรถนะครู, การนำแผนงานและนโยบายสู่การปฏิบัติ, คุณภาพผู้เรียน, NATHAWEE Model

Title:        The Development of a Strategic Management Model to Enhance Teachers'

               Competencies in Implementing Plans and Policies into Practice and

               Improving Student Quality at Nathawee Wittayakhom School

Researcher: Acting Sub Lt. Phairin Theerakul

Research Year: 2024

ABSTRACT

          This research aimed to: 1) study the basic data and needs assessment for developing a strategic management model, 2) develop a strategic management model, 3) study the implementation results of the strategic management model, and 4) evaluate and improve the strategic management model to enhance teachers' competencies in implementing plans and policies into practice and improving student quality at Nathawee Wittayakhom School. The sample consisted of 7 school administrators, 114 teachers, 14 basic education committee members, and 40 students of Nathawee Wittayakhom School. The research instruments included needs assessment forms, in-depth interview forms, discussion record forms, model congruence assessment forms, teacher competency assessment forms, and student quality assessment forms. The statistics used for data analysis were mean and standard deviation.

          The research findings revealed that: 1) The overall needs assessment for developing the model was at a high level (x-bar = 4.37, S.D. = 0.57), with skills development and training having the highest mean (x-bar = 4.51, S.D. = 0.42). The major problems were teachers' heavy workload, lack of systematic follow-up, and insufficient supporting resources. 2) The developed strategic management model, "NATHAWEE Model," consisted of 4 components: (1) Principles emphasizing the development of competencies essential for actual practice, (2) Objectives aiming to develop teachers' knowledge and skills in efficiently implementing plans, (3) Management process with 8 main steps (N: Network development, A: Alignment of goals, T: Training and development, H: Happiness at work, A: Assessment and monitoring, W: Work integration into classrooms, E: Engagement creation, E: Empowerment of success), and (4) Support system (3T-System: T1: Teacher leaders of change, T2: Transition management, T3: Technology utilization). The model's congruence and appropriateness were at the highest level (x-bar = 4.83, S.D. = 0.37). 3) The overall implementation results were at a high level (x-bar = 4.39, S.D. = 0.54), with teachers' competencies in implementing plans into classroom practice having the highest mean (x-bar = 4.47, S.D. = 0.54). The overall teacher competencies were at a high level (x-bar = 4.07, S.D. = 0.15), and the overall student quality was at a high level (x-bar = 3.71, S.D. = 0.16). 4) The overall quality assessment of the model was at the highest level (x-bar = 4.54, S.D. = 0.60), and the overall satisfaction with the model was at the highest level (x-bar = 4.56, S.D. = 0.55).

Keywords: Strategic Management, Teacher Competencies, Plan and Policy Implementation, Student Quality, NATHAWEE Model