Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การแก้ปัญหาทักษะทางสังคม ด้านการทำความสะอาดโต๊ะหลังการรับประทานอาหารกลางวัน โดยใช้การวิเคราะห์งานร่วมกับสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง สำหรับนักเรียนออทิสติก ห้องเรียนวาจาสื่อสารศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง

ผู้วิจัย นายนภสินธุ์ ดวงประภา

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 14 เมษายน 2568

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง            การแก้ปัญหาทักษะทางสังคม ด้านการทำความสะอาดโต๊ะหลังการรับประทานอาหารกลางวัน โดยใช้การวิเคราะห์งานร่วมกับสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง สำหรับนักเรียนออทิสติก ห้องเรียนวาจาสื่อสารศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง

                   

ชื่อผู้วิจัย          นายนภสินธุ์ ดวงประภา  ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ

ปีการศึกษา      2567

สถานศึกษา       ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาทักษะทางสังคม ด้านการทำความสะอาดโต๊ะหลังการรับประทานอาหารกลางวันของเด็กออทิสติก ห้องเรียนวาจาสื่อสาร ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดลำปาง
ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงเป็นนักเรียน เพศชาย จำนวน 4 คน และเพศหญิงอายุ จำนวน 1 คน ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นบุคคลออทิสติกอยู่ในระดับชั้นเตรียมความพร้อมในห้องเรียนวาจาสื่อสาร ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งมีขั้นตอนในการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนผล  โดยดำเนินการ 1 ปีการศึกษา ใช้เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การทำความสะอาดโต๊ะอาหารหลังการรับประทานอาหารกลางวัน 2) แบบประเมิน 3) บัตรภาพการวิเคราะห์งานในการทำความสะอาดโต๊ะอาหารหลังการรับประทานอาหารกลางวัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ทักษะทางสังคม ด้านการทำความสะอาดโต๊ะอาหารหลังการรับประทานอาหารกลางวันของเด็กออทิสติกดีขึ้น

2.เด็กออทิสติกสามารถทำความสะอาดโต๊ะอาหารหลังการรับประทานอาหารกลางวันหลังการใช้เทคนิคการวิเคราะห์งานร่วมกับสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง

คำสำคัญ : ทักษะทางสังคม แรงเสริมทางบวก เทคนิคการวิเคราะห์งาน เด็กออทิสติก

 

 

คำสำคัญ : ทักษะทางสังคม แรงเสริมทางบวก เทคนิคการวิเคราะห์งาน เด็กออทิสติก