Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการลากเส้นตรง โดยใช้ชุดแบบฝึกลากเส้นตรงร่วมกับ การวิเคราะห์งาน (Task Analysis) และการตะล่อมกล่อมเกลา (Shaping) ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หน่วยบริการอำเภอห้างฉัตร ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง

ผู้วิจัย นายธัณนพชมฒ์ รินรา

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 17 เมษายน 2568

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในลากเส้นตรงโดยใช้ชุดแบบฝึกลากเส้นตรงร่วมกับการวิเคราะห์งาน (Task Analysis) และการตะล่อมกล่อมเกลา (Shaping) สำหรับนักเรียนหน่วยบริการห้างฉัตร ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งมีขั้นตอนในการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนผล  โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เพศ ชาย อายุ 7 ปี จำนวน 1 คน ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อยู่ในระดับชั้นเตรียมความพร้อมในหน่วยบริการอำเภอห้างฉัตร ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ใช้เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ตารางบันทึกการประเมินพัฒนาความสามารถในลากเส้นตรง  3) ชุดแบบฝึกลากเส้นตรง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ 
     ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ความสามารถในลากเส้นตรงของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีคะแนนความสามารถในลากเส้นตรงก่อนใช้ชุดแบบฝึกลากเส้นตรงร่วมกับการวิเคราะห์งาน (Task Analysis) และการตะล่อมกล่อมเกลา (Shaping) เฉลี่ย 2.5 คะแนน คะแนนความสามารถในลากเส้นตรงหลังใช้ชุดแบบฝึกลากเส้นตรงร่วมกับการวิเคราะห์งาน (Task Analysis) และการตะล่อมกล่อมเกลา (Shaping) เฉลี่ย 3.5 คะแนน ค่าความต่างคะแนนเฉลี่ยระหว่างก่อนและหลังใช้ชุดแบบฝึกลากเส้นตรงร่วมกับการวิเคราะห์งาน (Task Analysis) และการตะล่อมกล่อมเกลา (Shaping) เฉลี่ย 1 คะแนน ดังนั้นนักเรียนมีพัฒนาการความสามารถในลากเส้นตรงร้อยละ 66.67
     คำสำคัญ  ชุดแบบฝึกลากเส้นตรงร่วมกับการวิเคราะห์งาน (Task Analysis) และการตะล่อมกล่อมเกลา (Shaping) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ความสามารถในลากเส้นตรง