ชื่อเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง พลังงานศักย์ ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย ชินตา สุภาชาติ
ปีการศึกษา 2568
วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2568
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
คือ 1)
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง พลังงานศักย์
ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์
เรื่อง พลังงานศักย์ ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์
เรื่อง พลังงานศักย์ ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างคือ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2567 จำนวน 36 คน โดยเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้จัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์
เรื่อง พลังงานศักย์ ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง
พลังงานศักย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง
พลังงานศักย์ ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานE1/E2 และและทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test
แบบ Dependent Samples ผลการวิจัย พบว่า
1.
ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์
เรื่อง พลังงานศักย์ ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน
ร่วมกับสื่อประสม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.89/82.78 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤ ทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง พลังงานศักย์ ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง พลังงานศักย์ ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 อยู่ในระดับมากที่สุด