Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการแต่งกายด้วยการวิเคราะห์งานร่วมกับการใช้สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ผ่านการมองและการเสริมแรงทางบวก ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว ห้องเรียนเด่นพัฒนาการ 1 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง

ผู้วิจัย นางสาวสายใย อภิชัย

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 6 พฤษภาคม 2568

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง           การพัฒนาทักษะการแต่งกายด้วยการวิเคราะห์งานร่วมกับการใช้สื่อสนับสนุนการ
                     เรียนรู้ผ่านการมองและการเสริมแรงทางบวก ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย
                     หรือการเคลื่อนไหว ห้องเรียนเด่นพัฒนาการ 1 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด
                     ลำปาง
ชื่อผู้วิจัย         นางสาวสายใย อภิชัย ตำแหน่ง ครูชำนาญการ

ปีการศึกษา      2567
สถานศึกษา     
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง

 

 

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการแต่งกายของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ ด้วยการวิเคราะห์งานร่วมกับการใช้สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมองและการเสริมแรงทางบวกใช้รูปแบบการวิจัยเชิงฏิบัติการซึ่งมีขั้นตอนในการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนผล  โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ เพศหญิง
อายุ
6 ปี จำนวน 1 คน ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ อยู่ในระดับชั้นเตรียมความพร้อมในห้องเรียนเด่นพัฒนาการ 1 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ใช้เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมิน/แบบสังเกต/แบบทดสอบ 3) นวัตกรรมที่นำมาใช้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย
ค่าร้อยละ

ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า

          จากการใช้เทคนิคการสอนเชิงพฤติกรรมต่อการพัฒนาทักษะความสามารถในการแต่งกายของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ ผ่านการใช้สื่อสนับสนุนทางสายตา พบว่า นักเรียนสามารถแต่งกายได้ตามขั้นตอนที่กำหนดได้ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 93.75 สอดคล้องกับ สมพร คำมูล(2554) ได้ศึกษาความสามารถในการช่วยเหลือตนเองด้านการแต่งกายของเด็กที่มีควาบกพร่องทางสติปัญญาโดยการใช้ชุดกิจกรรมการแต่งกาย
โดยเปรียบเทียบและศึกษาความสามารถในการช่วยเหลือตนเองด้านการแต่งกายของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ก่อนและหลังการทดลอง ฝึกการแต่กายโดยใช้ชุดกิจกรรมการแต่งกาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนอายุระหว่าง 6-10 ปี ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน พบว่า 1)ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองด้านการแต่งกายของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเด็กเรียนได้ อายุ 6-10 ปี ที่มีระดับเชาว์ปัญญา 50-70 ปี หลังการใช้ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งกายมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองด้านการแต่งกายอยู่ในระดับดีมาก 2)เปรียบเทียบความสามารถในการช่วยเหลือตนเองด้านการแต่งกายของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาหลังการใช้ชุดกิจกรรมการแต่งกาย สูงกว่าก่อนและหลังการฝึกอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

 

คำสำคัญ  ชุดฝึกทักษะการแต่งกาย การแต่งกาย