Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ของผู้เรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง เทศบาลนครอุดรธานี

ผู้วิจัย นายเสกสรรค์ คนไว

ปีการศึกษา 2565

วันที่เผยแพร่ 13 พฤษภาคม 2568

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย การพัฒนารูปแบบพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อ

ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง  เทศบาลนครอุดรธานี ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัด สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง  เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง  เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 4. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง  เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 9 คน เครื่องมือการวิจัย แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้เพื่อการคิดวิเคราะห์ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อการคิดวิเคราะห์ของครูผู้สอน แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูก่อนหลังการพัฒนาตามรูปแบบและแบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNI (Modified)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรา งานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ สังเคราะห์ได้     3 องค์ประกอบ 9 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ความรู้ความเข้าใจด้านการคิดวิเคราะห์ มี 4 ตัวชี้วัด 2) ทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ มี 3 ตัวชี้วัด 3) การวัดและประเมินผล ด้านการคิดวิเคราะห์ มี 2 ตัวชี้วัด สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1) การวัดและประเมินผลด้านการคิดวิเคราะห์ 2) ความรู้ความเข้าใจด้านการคิดวิเคราะห์ 3) ทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ด้านความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

              3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี  พบว่า ครูมีความรู้และทักษะก่อนและหลังการใช้รูปแบบเรื่องทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครู พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

              4. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พบว่า จากการเปรียบเทียบคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดความรู้และทักษะก่อนและหลังการใช้รูปแบบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด