ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning: ABL)ร่วมกับ READER โมเดล เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย รุสบีต๊ะห์ เขร็มสัน
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 30 พฤษภาคม 2568
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน
(Activity-Based Learning: ABL)ร่วมกับ READER โมเดล เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ รายวิชาภาษาอังกฤษ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน
(Activity-Based Learning: ABL) ร่วมกับ READER โมเดล เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน
(Activity-Based Learning: ABL) ร่วมกับ READER โมเดล เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ รายวิชาภาษาอังกฤษ ดังนี้ 2.1)
ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน
(Activity-Based Learning: ABL) ร่วมกับ READER โมเดล เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 ก่อนเรียนและหลังเรียน 2.2) ศึกษาผลการประเมินด้านทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน
(Activity-Based Learning: ABL) ร่วมกับ READER โมเดลรายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2.3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน
(Activity-Based Learning: ABL) ร่วมกับ READER โมเดล เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3
ขั้นตอนในการวิจัย มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1
การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
และระยะที่ 3 การใช้และประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนบ้านคอลอตันหยง
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1
ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 20 คน
ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based
Learning: ABL) ร่วมกับ READER โมเดลโดยใช้เนื้อหาหนังสือส่งเสริมการอ่านประเภทบทความชุด
Article for Life จำนวน 11 แผนการจัดการเรียนรู้
ใช้เวลา 21 คาบ พร้อมคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังของหนังสือส่งเสริมการอ่านประเภทบทความชุด
Article for Life จำนวน 30 ข้อ 3)
แบบประเมินทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 4 ชุด และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้จำนวน
15 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาประสิทธิภาพของประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียน โดยการทดสอบค่าที (t-test)
หาค่าเฉลี่ยร้อยละของการประเมินทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ และหาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based
Learning: ABL) ร่วมกับ READER โมเดล
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ รายวิชาภาษาอังกฤษ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยหาค่า x-bar และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) แล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ผลการวิจัยพบว่า
1.
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based
Learning: ABL) ร่วมกับ READER โมเดล
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ รายวิชาภาษาอังกฤษ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 86.20/85.00
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน
(Activity-Based Learning: ABL)ร่วมกับ READER โมเดล เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ รายวิชาภาษาอังกฤษ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 3. หลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีขั้นตอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน
(Activity-Based Learning: ABL)ร่วมกับ READER โมเดล เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ รายวิชาภาษาอังกฤษ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้เรียนมีผลการประเมินทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
อยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไปร้อยละ 100 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน
(Activity-Based Learning: ABL) ร่วมกับ READER โมเดล เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
รายวิชาภาษาอังกฤษ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
3 ลำดับแรก ได้แก่
กิจกรรมในแต่ละขั้นเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิด วิเคราะห์
และแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ ( x-bar = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมาคือ
ขั้นตอนการเรียนรู้ที่หลากหลายทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีความเข้าใจลึกขึ้นและครูมีบทบาทในการกระตุ้น สนับสนุน
และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม ( x-bar = 4.85, S.D = 0.37) และวิธีการประเมินผลในชั้นเรียนสะท้อนความสามารถที่แท้จริงของนักเรียนได้ชัดเจน
( x-bar = 4.85, S.D. = 0.37)