ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความเป็นเลิศในสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ของโรงเรียนวังวิเศษ
ผู้วิจัย ปราโมทย์ สุทธิรักษ์
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 30 พฤษภาคม 2568
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ และ
4)
ประเมินและปรับปรุงคุณภาพของรูปแบบการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความเป็นเลิศในสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของโรงเรียนวังวิเศษ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 4 คน ครูผู้สอน 52
คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 14 คน
ผู้ปกครองนักเรียน 285 คน และนักเรียน 285 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็น
แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนา
อภิปรายกลุ่มและถอดบทเรียน แบบบันทึกผลการพัฒนาครู แบบนิเทศติดตาม แบบบันทึกการวิพากษ์
แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ แบบประเมินผลการทดลองใช้นำร่องและทดลองจริง
แบบประเมินสมรรถนะครู แบบประเมินความเป็นเลิศของผู้เรียน แบบประเมินและปรับปรุงคุณภาพของรูปแบบ
และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.21) โดยด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเข้าถึงเทคโนโลยีมีความต้องการสูงสุด (x-bar = 4.37) ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีดิจิทัลควรมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษาที่ทั่วถึงและเท่าเทียม จากการสนทนากลุ่มพบว่า เทคโนโลยีที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือสมาร์ทโฟนและ AI
2. รูปแบบการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้น มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการบริหารจัดการ (WANGWISET EXCELLENCE Model) 9 ขั้นตอน และระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ (KNOW-system) 4 ระบบ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.41)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบในกลุ่มนำร่อง
พบว่ามีความเป็นไปได้และความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.43) และมีผลลัพธ์ต่อครู ผู้เรียน
และสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.35)
ผลการทดลองใช้จริงพบว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.49) และมีผลลัพธ์ต่อครู ผู้เรียน
และสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก (
4. ผลการประเมินและปรับปรุงคุณภาพของรูปแบบ พบว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.49) และมีผลลัพธ์ต่อครู ผู้เรียน และสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.17) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.52)
คำสำคัญ: การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง,
ความเป็นเลิศในสถานศึกษา, เทคโนโลยีดิจิทัล,
WANGWISET EXCELLENCE Model