Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน(จงนิลอุปถัมภ์)

ผู้วิจัย นางสาวนฤมล แจ้งกิจ

ปีการศึกษา 2568

วันที่เผยแพร่ 1 มิถุนายน 2568

บทคัดย่อ

การวิจัยพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการเพื่อ

ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์)

ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย1) เพื่อศึกษาสภาพบริบท ปัญหา และความต้องการ

พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) 2) เพื่อสร้าง

รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัด

หน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อ

ยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) เพื่อยกระดับ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2567 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการเสริมสร้าง

พลังอำนาจครูโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) ในด้านความถูกต้อง ด้านความ

เหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา

ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจการ

บริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัด

หน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจ

การบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัด

หน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลัง อำนาจการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน


โรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการเสริมสร้าง

พลังอำนาจการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

โรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นบุคคล/กลุ่ม

บุคคลในปีการศึกษา 2567 ของโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) สำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 130 คน ประกอบด้วย

1) ครูจำนวน 12 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ยกเว้น

ผู้บริหารโรงเรียนและผู้แทนครูผู้สอน) ได้มาโดยการเทียบตารางของเครจซีและมอร์

แกน (Krejcie and Morgan, 1970: 608) 3) ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2

ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบประเมิน

ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องของรูปแบบการ

เสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ

นักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการ

ใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) สถิติที่ใช้วิเคราะห์

ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการ

บริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัด

หน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ

(Ordinary National Educational Test: O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

โรงเรียนมีคะแนนผลการประเมิน รวม 4 ด้าน คือ ด้านภาษาไทยด้านคณิตศาสตร์ ด้าน

ภาษาอังกฤษ และด้านวิทยาศาสตร์ระดับโรงเรียน เฉลี่ยร้อยละ 51.43 สูงกว่าระดับ

เขตพื้นที่การศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 35.59 และสูงกว่าระดับ สพฐ. ที่มีค่าเฉลี่ยร้อย

ละ 37.90

2. ผลการประเมินรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการ

เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์)


2.1 ผลการประเมินด้านความเป็นประโยชน์ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม

และความถูกต้อง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2.2 ครูมีความพึงพอใจต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการ

เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิล

อุปถัมภ์) โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

3. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการ

เสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ

นักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) โดยรวม อยู่ในระดับพึงพอใจ มากที่สุด