Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง สื่อเกมทางการศึกษา “บอร์ดเกมไม้ดอกไม้ประดับ”

ผู้วิจัย นางอังอร แสวานี

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 2 มิถุนายน 2568

บทคัดย่อ

ชื่อผลงาน                   รายงานผลการใช้สื่อเกมทางการศึกษา  “บอร์ดเกมไม้ดอกไม้ประดับ”   เพื่อสร้างความรู้  

ความเข้าใจทางการเรียน  เรื่อง ไม้ดอกไม้ประดับ   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ชื่อผู้จัดทำผลงาน           นางอังอร   แสวานี

ตำแหน่ง                     ครู  วิทยฐานะครูชำนาญการ

 

 

บทคัดย่อ

การดำเนินงานครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าในการเรียนรู้จากการจัดการเรียนรู้  รายวิชาการงานอาชีพ  เรื่อง ไม้ดอกไม้ประดับ   โดยใช้สื่อเกมทางการศึกษา  “บอร์ดเกมไม้ดอกไม้ประดับ”  (2)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสื่อเกมทางการศึกษา“บอร์ดเกมไม้ดอกไม้ประดับ”  (3)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสื่อเกมทางการศึกษา  “บอร์ดเกมไม้ดอกไม้ประดับ”  ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  รายวิชาการงานอาชีพ  เรื่อง ไม้ดอกไม้ประดับ   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   

          กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1   จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567  โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก                 เรื่อง ไม้ดอกไม้ประดับ (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (3) ใบงานเชิงสร้างสรรค์ และ(4) สื่อเกมทางการศึกษา  “บอร์ดเกมไม้ดอกไม้ประดับ”  โดยนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย   ระหว่างการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมเชิงรุกเพื่อเรียนรู้ เรื่อง ไม้ประดับ  หลังจากจบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  สรุปความรู้ด้วย การใช้สื่อเกมทางการศึกษา “บอร์ดเกมไม้ดอกไม้ประดับ และทดสอบความรู้ความเข้าใจด้วยการทำแบบทดสอบท้ายหน่วย จากนั้นจึงประเมินวิเคราะห์ความเหมาะสมของการจัดการเรียนรู้  และประเมินวิเคราะห์ความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน

          ผลการดำเนินการพบว่า  ประสิทธิภาพของสื่อเกมทางการศึกษา “บอร์ดเกมไม้ดอกไม้ประดับ” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่อง ไม้ดอกไม้ประดับ   ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1    มีประสิทธิภาพ 88.11/80.00 (เทียบเท่ากับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80)   มีความก้าวหน้าทางการเรียนโดยการใช้สื่อเกมทางการศึกษา “บอร์ดเกมไม้ดอกไม้ประดับ” ที่ร้อยละ 35.00  มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง  มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้สื่อเกมทางการศึกษา “บอร์ดเกมไม้ดอกไม้ประดับ”  อยู่ในระดับ ดี