ชื่อเรื่อง KWANG MODEL To NATSIN
ผู้วิจัย ว่าที่ ร.ต.หญิงจุฑามณี ไชยสงคราม
ปีการศึกษา 2568
วันที่เผยแพร่ 2 มิถุนายน 2568
บทคัดย่อ
KWANG MODEL To NATSIN
นวัตกรรม KWANG MODEL To NATSIN โดยนำแนวคิดกระบวนการบริหารจัดการเชิงระบบ (Boulding & Bertalanfly : 1920) ร่วมกับ วงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA) หรือ วงจร Deming (William Edwards Deming : 1980) ในการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ควบคู่กับคุณธรรม ยกระดับการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 โดยสามารถนำรูปแบบโมเดลนี้ ไปปรับใช้ได้กับการนิเทศการศึกษาทุกรูปแบบ ซึ่งนำมาใช้กับ แผนการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอนรายวิชานาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการ KWANG MODEL To NATSIN ดังรายละเอียดต่อไปนี้
P - PLAN |
D - DO |
C - CHECK |
A - ACT |
Knowledge Management |
win |
Adaptability Network |
Goal |
- การวางแผนการจัดการความรู้โดยวิเคราะห์สภาพจริง,นโยบายต้นสังกัด จุดเน้น สนง.เขตพื้นที่, วางแผนและกำหนดเป้าหมาย |
- การเปิดโอกาสให้มีการระดมสรรพกำลังของทุกภาคส่วน ช่วยเหลือสนับสนุนครูและสถานศึกษาในด้านต่างๆให้ประสบผลสำเร็จ สู่เป้าหมายความเป็นเลิศ |
- การนิเทศ กำกับติดตาม
โดยการเปิดโอกาสให้มีการระดมสรรพกำลังของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
และปรับตัวรู้รอบด้าน |
- ก้าวไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน
โดยนำผลการดำเนินงาน สรุปรายงานและหาแนวทางปรับปรุงเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ |
PLAN วางแผน – Knowledge Management
การจัดการความรู้
๑. ศึกษา
วิเคราะห์นโยบาย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ และ
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอนรายวิชานาฏศิลป์
เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ของผู้เรียน
๒.
วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศและผลการดำเนินงานขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) ของครูผู้สอนรายวิชานาฏศิลป์ ของสถานศึกษา
๓.
กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ กำหนดปฏิทินการนิเทศ
และสร้างเครื่องมือการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) ของครูผู้สอนรายวิชานาฏศิลป์
DO ปฏิบัติ –
win
ลงมือทำให้สำเร็จมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
๔.
พัฒนาครูร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาอื่นเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาในสังกัดในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของครูผู้สอนรายวิชานาฏศิลป์
๕.
ส่งเสริมสนับสนุนการใช้รูปแบบ/เทคนิค/วิธีการ/กิจกรรม สื่อนวัตกรรม
และเทคโนโลยีที่ใช้ในการขับเคลื่อนดำเนินงานจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) ของครูผู้สอนรายวิชานาฏศิลป์ ของสถานศึกษาในสังกัดทั้งระบบ
ที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของโรงเรียน
Check ตรวจสอบ –
Adaptability Network
ปรับตัวรู้รอบด้าน สร้างเครือข่ายระดมสรรพกำลัง
๖. ประสานความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของครูผู้สอนรายวิชานาฏศิลป์
ร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
๗. นิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) ของครูผู้สอนรายวิชานาฏศิลป์
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
๘.
จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนและเผยแพร่รูปแบบ เทคนิค วิธีการ
จัดการเรียนรู้ และนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) ของครูผู้สอนรายวิชานาฏศิลป์
ACT ปรับปรุงและพัฒนา
– Goal
ก้าวไปสู้เป้าหมายที่กำหนดไว้
๙.
ประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอนรายวิชานาฏศิลป์ ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติทางนาฏศิลป์
๑๐.
สรุปรายงานผลการนิเทศเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาในครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
๑๑.
สร้างขวัญและกำลังใจ ยกย่องเชิดชูเกียรติ และเผยแพร่ผลความสำเร็จ (Best
Practice)