Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแบบฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี

ผู้วิจัย นางสาวสมใจ วิมลปกรณ์

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 3 มิถุนายน 2568

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแบบฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่มีพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแบบฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแบบฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ

กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี จำนวน 38 คน  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ชุด Happy And     Learn English จำนวน 3 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้การสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแบบฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแบบฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับแบบฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ระยะเวลาที่ใช้ในการสอน  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   และค่าสถิติ T-Test  Dependent

ผลการรายงานสรุปได้ดังนี้

1. แบบฝึกด้วยวิธีแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเทียบกับเกณฑ์ 80/80 พบว่า แบบฝึกมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.96 / 88.03   มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกด้วยวิธีแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกด้วยวิธีแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   พบว่าหลังการฝึกนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี