ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล
ผู้วิจัย นายสมพร เพชรประพันธ์
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 6 มิถุนายน 2568
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active
Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล 2) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล 3) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา
แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษารูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล เพื่อนำมายกร่างรูปแบบการพัฒนาโดยการศึกษาแนวคิด
ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เนื้อหา
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปผลการวิเคราะห์ ระยะที่ 2
ศึกษาสภาพการดำเนินงานและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล โดยศึกษาเอกสารที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) และศึกษาเอกสารข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับหลักการสร้างแบบสอบถาม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยสอบถามครูผู้สอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 10 คน
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น ระยะที่ 3 สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล และนำร่างรูปแบบการพัฒนาดังกล่าว เสนอผู้เชี่ยวชาญ
จำนวน 5 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม
ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ นำมาแก้ไขและปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
และจัดทำเป็นรูปเล่มคู่มือการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเลที่สมบูรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล
โดยนำไปทดลองใช้กับโรงเรียนบ้านหนองทะเล ปีการศึกษา 2567 ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 51 คน และนักเรียน จำนวน 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน
ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ผลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนา แบบประเมินความพึงพอใจ
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษารูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล
เพื่อนำมายกร่างรูปแบบการพัฒนา ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนักและทางเลือกในการพัฒนา ขั้นที่ 2 ระดมความคิดและร่วมวางแผนพัฒนา
ขั้นที่ 3 นำสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนา ขั้นที่ 4 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประเมินผล ขั้นที่ 5
สรุปและขยายเครือข่าย
2.
ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล พบว่าในภาพรวมค่าเฉลี่ยสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก
จากผลการวิเคราะห์ยังพบได้อีกว่าสภาพที่พึงประสงค์
มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพการดำเนินงานทุกด้าน ความต้องการจำเป็นในภาพรวม มีค่า PNI modified
อยู่ระหว่าง 0.127-0.196 และมีความสำคัญเป็น 3
ลำดับแรก คือ ลำดับที่ 1 สรุปและขยายเครือข่าย
ลำดับที่ 2 ระดมความคิดและร่วมวางแผนพัฒนา ลำดับที่ 3
สร้างความตระหนักและทางเลือกในการพัฒนา
3. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล มีความเหมาะสม
ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.
ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล พบว่า 1) ก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความพึงพอใจต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ของโรงเรียนบ้านหนองทะเล
ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียน มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด