Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การนำหลักสูตรสถานศึกษาสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ประสบผลสำเร็จ เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ CIPPA model 7 ขั้นตอน และสื่อผสม เรื่องอาหารสำหรับครอบครัว

ผู้วิจัย เพชรรัตน์ ไชยชาญรมย์

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 8 มิถุนายน 2568

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาการงานอาชีพ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ CIPPA model 7 ขั้นตอน และสื่อผสม เรื่องอาหารสำหรับครอบครัว เป็นการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนจัดการเรียนการสอนโดยนำเอาปัญหาที่พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 บางคนยังมีผลสัมฤทธิ์ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินและขาดเรียนทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องอาหารสำหรับครอบครัว ต่ำกว่าเกณฑ์และขาดความเข้าใจในเรื่องการจัดอาหารสำรับสำหรับครอบครัว

กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2567 ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 21 คน โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม  ตำบลน้ำอ้อม อำเภอเกษตรวิสัย  จังหวัดร้อนเอ็ด จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้ซ่อมเสริมนักเรียนที่ขาดเรียนและไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA model และสื่อผสม ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง อาหารสำหรับครอบครัว

ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ CIPPA model 7 ขั้นตอน และสื่อผสม เรื่องอาหารสำหรับครอบครัว ประเมินในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพม.1มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพม.1เรื่องอาหารสำหรับครอบครัวผลการทอลองใช้สื่อพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA model และสื่อผสมmodel และสื่อผสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ย  = 4.6 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA model และสื่อผสม มีค่าเฉลี่ย = 16.8  ผลการเปรียบเทียบการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปรากฏว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1กลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA model และสื่อผสมมากกว่าก่อนใช้สื่อนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ1กลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบCIPPAmodelและสื่อผสม มากกว่าก่อนใช้สื่อนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 100 และอยู่ในระดับคุณภาพที่ ระดับ  ดีมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบCIPPA model และสื่อผสมmodel และสื่อผสม ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและฝึกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับผู้เรียนในด้านของความซื่อสัตย์สุจริตต่อตัวเองได้เป็นอย่างดีและช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นจริง

 

จุดประสงค์                                                                        

    1. เพื่อสร้างและออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนด้วยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ CIPPA model 7 ขั้นตอน และสื่อผสม  ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง อาหารสำหรับครอบครัว

    2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่องการเตรียมอาหารและหลักการประกอบ

อาหาร รายวิชา การงานอาชีพ 1 รหัสวิชา ง 21101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม โดยการจัดการเรียนแบบ CIPPA model 7 ขั้นตอน และสื่อผสม  ก่อนและหลังการจัดเรียนรู้

    3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบ CIPPA model 7 ขั้นตอน และสื่อผสม 

 

ป้าหมาย

            ด้านปริมาณ

            1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง อาหารสำหรับครอบครัว รายวิชา การงานอาชีพ 1 รหัสวิชา ง 21101 หลังเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ  80

           ด้านคุณภาพ

            1. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อาหารสำหรับครอบครัวโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA model 7 ขั้นตอน และการใช้สื่อผสม ในรายวิชา  การงานอาชีพ 1 รหัสวิชา ง 21101 อยู่ในระดับคุณภาพมาก

 

ขอบเขตของการดำเนินงาน

                        1. ประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนการงานอาชีพ 1 รหัสวิชา ง 21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ประจำปีการศึกษา2567              

                        2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน เรื่อง อาหารสำหรับครอบครัว รายวิชา การงานอาชีพ 1 รหัสวิชา ง 21101 โดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA modelปีการศึกษา 2568ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 21 คน

 

ผลการดำเนินงาน

         สำหรับครู

                        1  ครูได้ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อาหารสำหรับครอบครัวสูงขึ้น

                        2 มีการจัดทำสื่อการสอนที่หลากหลาย เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนสอนเพื่อให้ผู้เรียน ได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ CIPPA model 7 ขั้นตอน และสื่อผสม  ที่เหมาะกับการเรียนการสอนช่วงศตวรรษที่ 21 นี้

                        3 เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และจุดหมายของหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ที่มุ้งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและมาตรฐาน ตัวชี้วัด ที่นำไปสู่การปฏิบัติโดยเฉพาะสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่มุ่งให้เกิดความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

                        4 เป็นการกระตุ้นครูผู้สอนให้สนใจใฝ่รู้ สื่อเสาะหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและนำสิ่งใหม่ ๆ มาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

            4.2 สำหรับนักเรียน

                        1 นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากการเรียนรู้เรื่อง อาหารสำหรับครอบครัว โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ CIPPA model 7 ขั้นตอน และสื่อผสม                

                        2 นักเรียนมีทักษะด้าน การเตรียมและเข้าใจหลักการประกอบอาหารอย่างถูกสุขอนามัย

                        3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอาหารสำหรับครอบครัวที่ผ่านเกณฑ์และสูงขึ้น

                        4  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง อาหารสำหรับครอบครัวโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ CIPPA model 7 ขั้นตอน และสื่อผสม  ระดับ คุณภาพ มาก ด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.19

                        ผลการวิเคราะห์ผลการสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ CIPPA model 7 ขั้นตอน และสื่อผสม  เรื่อง อาหารสำหรับครอบครัว ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา2567