Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนราชวินิต มัธยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ผู้วิจัย นายสุรเชษฐ์ หิรัญสถิตย์

ปีการศึกษา 2565

วันที่เผยแพร่ 19 เมษายน 2566

บทคัดย่อ

ชื่อผลงาน:   การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนราชวินิต มัธยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ชื่อผู้รายงาน:   นายสุรเชษฐ์ หิรัญสถิตย์

ตำแหน่ง:   รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

วิทยฐานะ:   รองผู้อำนวยการชำนาญการ

หน่วยงาน:   โรงเรียนราชวินิต มัธยม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ปีที่วิจัย:   ปีการศึกษา 2565

บทสรุปผู้บริหาร

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนราชวินิต มัธยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อมของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนราชวินิต มัธยม 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนราชวินิต มัธยม 3) ประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนราชวินิต มัธยม และ 4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนราชวินิต มัธยม กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลในการประเมิน ประกอบด้วย 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ จำนวน 325 คน ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2565 โรงเรียนราชวินิต มัธยม 2) ครูผู้สอนโรงเรียนราชวินิต มัธยม จำนวน 80 คน และ 3) ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนราชวินิต มัธยม จำนวน 325 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเทียบสัดส่วนจากตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)

กรอบแนวคิดในการประเมินโครงการใช้รูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) ประกอบด้วย 1) ประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) และกรอบโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนราชวินิต มัธยม มีทั้งหมด กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ พิชิตยอดนักอ่าน กิจกรรมที่ ตามรอยเจ้าฟ้านักอ่าน กิจกรรมที่ สัปดาห์ห้องสมุด (รักการอ่านบนฐานชีวิตวิถีใหม่) กิจกรรมที่ อ่านข่าวก้าวทันวันสำคัญ กิจกรรมที่ พี่น้องชวนกันรักการอ่าน และกิจกรรมที่ ยุวนักอ่านส่งสารผ่านสื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมิน รวมจำนวน ฉบับ ผู้ประเมินสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้แก่ 1) แบบประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อมของโครงการฯ 2) แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการฯ 3) แบบประเมินด้านกระบวนการของโครงการฯ 4) แบบประเมินด้านผลผลิต: กิจกรรมในโครงการฯ 5) แบบประเมินด้านผลผลิต: พฤติกรรมรักการอ่านฯ และ 6) แบบสอบถามด้านผลผลิต: ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการฯ ซึ่งผ่านการตรวจสอบหาคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.845–0.962 เป็นที่ยอมรับและเป็นไปตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูป

สรุปผลการประเมิน พบว่า การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนราชวินิต มัธยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ด้วยรูปแบบการประเมินซิปป์โมเดล (CIPP Model) ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.60, SD = .15) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุดเป็นอันดับแรกคือ ด้านผลผลิต (ค่าเฉลี่ย = 4.66, SD = .11) รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ (ค่าเฉลี่ย = 4.61, SD = .26) ด้านปัจจัยนำเข้า (ค่าเฉลี่ย = 4.59, SD = .28) และด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (ค่าเฉลี่ย = 4.54, SD = .38) ตามลำดับ มีรายละเอียดดังนี้

1. ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.54, SD = .38) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุดเป็นอันดับแรกคือ เป้าหมายของโครงการมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ (ค่าเฉลี่ย = 4.66, SD = .66) รองลงมาคือ มีแผนปฏิบัติงานและการเตรียมการในสถานศึกษาที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ (ค่าเฉลี่ย = 4.63, SD = .56) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินต่ำสุดเป็นอันดับสุดท้ายคือ เป้าหมายของโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาและวัตถุประสงค์ (ค่าเฉลี่ย = 4.40, SD = .75)

2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.59, SD = .28) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุดเป็นอันดับแรกคือ มีครูและบุคลากรรับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมเพียงพอ (ค่าเฉลี่ย = 4.70, SD = .55) รองลงมาคือ มีผู้ช่วยครูบรรณารักษ์เพียงพอและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ค่าเฉลี่ย = 4.66, SD = .53) และมีงบประมาณเพียงพอในการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม (ค่าเฉลี่ย = 4.65, SD = .58) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินต่ำสุดเป็นอันดับสุดท้ายคือ มีจำนวนครูบรรณารักษ์และผู้ช่วยครูบรรณารักษ์ที่เพียงพอ (ค่าเฉลี่ย = 4.49, SD = .59)

3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.61, SD = .26) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุดเป็นอันดับแรกคือ มีโครงสร้างแผนภูมิและกำหนดทิศทางการบริหารงานที่ครอบคลุม (ค่าเฉลี่ย = 4.74, SD = .52) รองลงมาคือ มีแนวทางการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผลการดำเนินงาน โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.64, SD = .74) และมีการนิเทศ กำกับ และติดตามผลการดำเนินงานต่อเนื่อง (ค่าเฉลี่ย = 4.63, SD = .48) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินต่ำสุดเป็นอันดับสุดท้าย มีจำนวน ข้อคือ มีแผนงานและดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินงาน (ค่าเฉลี่ย = 4.55, SD = .54) และมีการประชุมวางแผนงานของคณะทำงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ (ค่าเฉลี่ย = 4.55, SD = .56)

4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ ผู้วิจัยแบ่งเป็นข้อมูลความคิดเห็น ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ผลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการทั้งหมด กิจกรรม ส่วนที่ พฤติกรรมรักการอ่านและการเรียนรู้ของนักเรียน และส่วนที่ ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการฯ โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.66, SD = .11) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายส่วนย่อยพบว่า ส่วนย่อยที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุดคือ ส่วนที่ ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .16) รองลงมาคือ ส่วนที่ พฤติกรรมรักการอ่านและการเรียนรู้ของนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.66, SD = .20) ส่วนที่ กิจกรรมในโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน (ค่าเฉลี่ย = 4.64, SD = .13) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาผลการประเมินด้านผลผลิตแต่ละส่วนย่อย พบว่า

          4.1 ส่วนที่ กิจกรรมในโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ปีการศึกษา 2565 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและครูผู้สอน โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.64, SD = .13) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกิจกรรมย่อยในโครงการ พบว่า กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุดเป็นอันดับแรกคือ กิจกรรมที่ สัปดาห์ห้องสมุด (รักการอ่านบนฐานชีวิตวิถีใหม่) (ค่าเฉลี่ย = 4.67, SD = .28) รองลงมาคือ กิจกรรมที่ พี่น้องชวนกันรักการอ่าน (ค่าเฉลี่ย = 4.66, SD = .18) กิจกรรมที่ พิชิตยอดนักอ่าน (ค่าเฉลี่ย = 4.64, SD = .26) และกิจกรรมที่ ตามรอยเจ้าฟ้านักอ่าน (ค่าเฉลี่ย = 4.63, SD = .20) ส่วนกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินต่ำสุดเป็นอันดับสุดท้าย มีจำนวน กิจกรรมคือ กิจกรรมที่ ยุวนักอ่านส่งสารผ่านสื่อ (ค่าเฉลี่ย = 4.62, SD = .23) และกิจกรรมที่ อ่านข่าวก้าวทันวันสำคัญ (ค่าเฉลี่ย = 4.62, SD = .31) ตามลำดับ

          4.2 ส่วนที่ พฤติกรรมรักการอ่านและการเรียนรู้ของนักเรียน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.66, SD = .20) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุดเป็นอันดับแรกคือ มีทักษะด้านภาษาและการสื่อสารเหมาะสมกับวัย (ค่าเฉลี่ย = 4.72, SD = .51) รองลงมาคือ สามารถสืบค้นความรู้จากสื่อเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .47) มีน้ำใจไมตรีช่วยเหลือผู้อื่นในการอ่าน (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .47) พัฒนาตนเองด้วยการอ่านอย่างสร้างสรรค์เป็นกิจวัตรประจำวัน (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .47) และรู้จักค้นคว้าความรู้อย่างอิสระจากห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .51) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินต่ำสุดเป็นอันดับสุดท้ายคือ สามารถให้ข้อมูลและอธิบายข้อคำถามจากการค้นคว้าได้ (ค่าเฉลี่ย = 4.60, SD = .52)

          4.3 ส่วนที่ ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ปีการศึกษา 2565 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .16) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง ด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุดคือ ด้านที่ คุณค่าและประโยชน์ของโครงการที่ได้รับ (ค่าเฉลี่ย = 4.69, SD = .22) รองลงมาคือ ด้านที่ ผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรมในโครงการ (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .18) และด้านที่ แผนการดำเนินงานและวิธีการปฏิบัติของโครงการ (ค่าเฉลี่ย = 4.66, SD = .24) เมื่อพิจารณารายข้อในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านที่ แผนการดำเนินงานและวิธีการปฏิบัติของโครงการพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีแผนงานสอดคล้องนโยบายและจุดเน้นที่ส่งเสริมการอ่าน (ค่าเฉลี่ย = 4.73, SD = .48) รองลงมาคือ มีกำหนดระยะเวลาจัดโครงการ/กิจกรรมเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย = 4.69, SD = .49) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ โครงการ/กิจกรรมน่าสนใจและกระตุ้นให้นักเรียนเข้าร่วมได้ (ค่าเฉลี่ย = 4.62, SD = .58) ด้านที่ ผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรมในโครงการพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีจำนวน ข้อคือ ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมเลือกใช้ทรัพยากร แหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีในการเรียนรู้บนฐานชีวิตวิถีใหม่ (ค่าเฉลี่ย = 4.70, SD = .47) และสะท้อนความคิดและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้อย่างสร้างสรรค์ (ค่าเฉลี่ย = 4.70, SD = .49) รองลงมามีผลการประเมินเท่ากันจำนวน ข้อคือ ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาทักษะภาษาไทย ทักษะการเรียนรู้ และทักษะชีวิตอย่างต่อเนื่อง (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .47) เน้นบูรณาการและสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และเครือข่าย (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .47) มีส่วนช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .48) ภาพรวมที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามรอยเจ้าฟ้านักอ่าน (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .48) ภาพรวมที่มีต่อการจัดกิจกรรมพิชิตยอดนักอ่าน (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .49)ภาพรวมที่มีต่อการจัดกิจกรรมพี่น้องชวนกันรักการอ่าน (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .50) และเปิดโอกาสให้เข้าถึงการอ่าน การเรียนรู้ผ่านหนังสือที่ดีและมีประโยชน์มากขึ้น (ค่าเฉลี่ย = 4.68, SD = .52) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ภาพรวมที่มีต่อการจัดกิจกรรมยุวนักอ่านส่งสารผ่านสื่อ (ค่าเฉลี่ย = 4.66, SD = .50) และด้านที่ คุณค่าและประโยชน์ของโครงการที่ได้รับพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ เป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงและการมีส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย = 4.72, SD = .48) รองลงมามีจำนวน ข้อคือ พัฒนาทักษะภาษาและการเรียนรู้ในการสร้างสรรค์ เผยแพร่ผลงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย (ค่าเฉลี่ย = 4.71, SD = .47) และเสริมสร้างภาวะผู้นำและการเป็นแบบอย่างที่ดีในระดับห้องเรียน ชั้นเรียน โรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และสังคม (ค่าเฉลี่ย = 4.71, SD = .52) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีจำนวน ข้อคือ ได้มีพื้นฐานการดำเนินชีวิตประจำวันสู่การปฏิบัติที่ดีอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข (ค่าเฉลี่ย = 4.66, SD = .52) และสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนให้มีพฤติกรรม/คุณลักษณะนิสัยรักการอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตในอนาคตที่เหมาะสม (ค่าเฉลี่ย = 4.66, SD = .52)

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะการนำผลการประเมินไปใช้

1. ควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์จุดเด่นหรือจุดที่ควรพัฒนา เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงระบบให้มีคุณภาพ

2. ควรมีเผยแพร่ผลลัพธ์ความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือหน่วยงานการศึกษา ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปปรับประยุกต์ใช้พัฒนาเป็นรูปแบบหรือแนวทางการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเป็นเลิศ

3. ควรให้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมต่าง ๆ โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคคลหรือหน่วยงานภายนอก เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนโดยเฉพาะการพัฒนาด้านการอ่าน การเขียนและการคิดขั้นสูง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม ทักษะทางภาษาและสมรรถนะผู้เรียนภายใต้บริบทสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล

ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินครั้งต่อไป

1. ควรมีการวิจัยประเมินโครงการอื่น ๆ เพื่อพัฒนาผลผลิตของโครงการเป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและมีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ สอดรับสถานการณ์ปัจจุบัน สภาพบริบทและสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน เช่น แหล่งการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล นวัตกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นต้น เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและนโยบายการจัดการศึกษา

2. ควรศึกษาปัจจัยหรือตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะทางภาษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และพลเมืองโลกที่เข้มแข็ง

3. ควรศึกษาแนวคิดและรูปแบบการประเมินทางการบริหารการศึกษาอื่น ๆ นอกเหนือจากรูปแบบการประเมินซิปป์โมเดล (CIPP Model) ทั้ง ด้าน เพื่อเป็นประโยชน์ทางการศึกษาสำหรับผู้บริหารหรือผู้ที่ศึกษา ในการเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพบริบทและโครงการต่าง ๆ ในระดับกลุ่มบริหาร กลุ่มงานหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่อไป