Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดนิทานประกอบการตั้งคำถามตามแนวคิดของบลูมเพื่อส่งเสริมทักษะ การคิดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล1 (บ้านแสนเมืองมูล) จังหวัดลำปาง

ผู้วิจัย คริษฐา เสมอเชื้อ

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 7 มิถุนายน 2567

บทคัดย่อ

                                                                    

                   การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. พัฒนาชุดนิทานประกอบการตั้งคำถามตามแนวคิดของบลูมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล1 (บ้านแสนเมืองมูล)  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล1 (บ้านแสนเมืองมูล) ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน  3. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อชุดนิทาน

                   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2      ในปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาล1 (บ้านแสนเมืองมูล) จำนวน 11 คน

                   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดนิทานประกอบการตั้งคำถามตามแนวคิดของบลูมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ประกอบไปด้วยนิทานจำนวน 6 เรื่อง แบบประเมินทักษะการคิด และแบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบสมมุติฐานใช้  Dependent Simples   t–test   และการหาประสิทธิภาพของชุดนิทานโดยใช้ E1/E2  

                   ผลการวิจัยพบว่า                                                                              

                  1.  ชุดนิทานประกอบการตั้งคำถามตามแนวคิดของบลูมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด     ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล1 (บ้านแสนเมืองมูล) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 80.49 / 88.18  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80

                  2.  เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดนิทานประกอบการตั้งคำถามตามแนวคิดของบลูมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย มีทักษะการคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
             
    3.   เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้
ชุดนิทานประกอบการตั้งคำถามตามแนวคิดของบลูมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย มีความพึงพอใจต่อการทำกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด