ชื่อเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่ง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ผู้วิจัย นายอำพล โทอรัญ
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 20 มิถุนายน 2567
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ผู้วิจัย : นายอำพล โทอรัญ
วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษโรงเรียนชุมชนบ้านโป่ง
ปีการศึกษา : 2566
การวิจัยเรื่อง
การพัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ
1) ศึกษาสภาพ
ปัญหาและแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
2)
พัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
3)
นำกลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนไปสู่การปฏิบัติจริง
และ (4)
ศึกษาผลการใช้กลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
โดยมีขั้นตอนการวิจัย
4
ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ
ปัญหาและแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ขั้นตอนที่ 3
นำกลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนไปสู่การปฏิบัติจริง
และขั้นตอนที่ 4
ศึกษาผลการใช้กลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยครูโรงเรียนชุมชนบ้านโป่ง จำนวน 14 คน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 ผู้ปกครองนักเรียน
จำนวน 136 คน และนักเรียน จำนวน 88 คน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
สรุปผล
การสรุปผลการพัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาสภาพ
ปัญหาและแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
1.1
ศึกษาสภาพ ปัญหาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่ง ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่ง
ซึ่งประกอบด้วย แผนปฏิบัติการ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรายงานการประเมินตนเอง (SAR) และปัญหาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่ง
ด้านการรู้จักนักเรียนรายบุคคล พบปัญหา ได้แก่
ครูโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งอาจไม่ได้รับความสะดวกในการเยี่ยมบ้าน
ทำให้ไม่ได้ข้อมูลนักเรียนที่ชัดเจนตามสภาพความเป็นจริง ด้านการคัดกรองนักเรียน
พบปัญหา ได้แก่
ครูไม่ได้จบการศึกษาทางด้านการแนะแนวโดยตรง
และยังขาดความรู้ประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
พบปัญหา ได้แก่
การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนักเรียนนั้นมีข้อจำกัดคือโรงเรียนไม่ได้ดำเนินงานการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา พบปัญหา ได้แก่
มีบุคลากรโยกย้ายบ่อย
ครูที่บรรจุใหม่ยังขาดประสบการณ์และเทคนิคในการให้คำปรึกษาแก่นักเรียน
และด้านการส่งต่อ พบปัญหา ได้แก่ ครูมีเวลาให้นักเรียนน้อยบางครั้งไม่มีการติดตามแก้ไขหรือดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด
ทำให้การแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
1.2
แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจากโรงเรียนที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ (Best
Practice) ได้แก่ 1) โรงเรียนชุมชนบ้านสันจำปา และ2)
โรงเรียนเจดีย์หลวงพิทยาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 พบว่า 1)
แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า โรงเรียนมีการกำหนดวิสัยทัศน์และนโยบายที่เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคลมีโครงการเยี่ยมบ้านที่พักอาศัยของนักเรียน
มีการใช้แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) กับนักเรียนและใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์
(EQ) กับนักเรียน 2) แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการคัดกรองนักเรียน พบว่า โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้ปกครองทุกคนได้มีโอกาสจัดทำการเรียนการสอนนักเรียนเองโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ 3)
แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน พบว่า โรงเรียนมีวิธีการปลูกจิตสำนึกให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง
โดยโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลายตามความแตกต่างของผู้เรียน 4) แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา พบว่า
โรงเรียนประสานผู้ปกครองในการพบปะกับผู้ปกครองเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยครูโดยให้กลุ่มงานแนะแนวช่วยดูแลตรงนี้
และมีการจัดคลาสรูมมิทติ้งทุกๆ ภาคเรียน ระหว่างผู้ปกครองเพื่อให้ผู้ปกครองได้พบปะพูดคุยกัน
มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาหารือร่วมกัน
ผู้ปกครองและชุมชนร่วมกับโรงเรียนในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน และ 5)
แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการส่งต่อ พบว่า โรงเรียนได้มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง
ๆ ในการส่งต่อนักเรียนในกรณีที่โรงเรียนไม่สามารถดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้
และมีนโยบายให้ครูที่ปรึกษาทุกคนได้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนเบื้องต้นอย่างเต็มความสามารถก่อนเป็นอันดับแรก
2. ผลการพัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
พบว่า
2.1 วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส
อุปสรรคหรือภาวะคุกคามของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
พบว่า การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
จุดแข็ง นักเรียนแต่ละคนมีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกัน
การรู้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวนักเรียน
จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ครูมีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้น
สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อการคัดกรองนักเรียน
เป็นประโยชน์ในการสิ่งเสริมพัฒนาการป้องกัน แก้ไข
และช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างถูกทาง
ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์มิใช่การใช้ความรู้สึกหรือการคาดเดา
โดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหานักเรียน
ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดต่อการช่วยเหลือนักเรียนหรือเกิดได้น้อยที่สุด นักเรียนแต่ละคนมีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกัน
การรู้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวนักเรียน
จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ครูมีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้น
สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อการคัดกรองนักเรียน
เป็นประโยชน์ในการสิ่งเสริมพัฒนาการป้องกัน แก้ไข
และช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างถูกทาง
ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์มิใช่การใช้ความรู้สึกหรือการคาดเดา
โดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหานักเรียน
ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดต่อการช่วยเหลือนักเรียนหรือเกิดได้น้อยที่สุด จุดอ่อน โรงเรียนมีการคัดกรองนักเรียนทุกคนโดยบันทึกข้อมูลลงในแบบคัดกรองนักเรียนรายบุคคล
มีการวางแผนและจัดทำปฏิทินการดำเนินงานด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลที่ชัดเจน
มีการนิเทศ ติดตามผลเกี่ยวกับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ และครูมีการศึกษาข้อมูลนักเรียนรายบุคคลที่ครอบคลุมทุก
ๆ ด้านเช่น ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านพฤติกรรม เป็นต้น โอกาส
โรงเรียนมีโครงการ/กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อประสานและส่งผ่าน
ข้อมูลนักเรียนรายบุคคลระหว่างครูที่ปรึกษากับผู้ปกครองนักเรียน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านการรู้จัก
นักเรียนเป็นรายบุคคล และ
ผู้ปกครองรับทราบข้อมูลต่าง ๆ ของนักเรียนและให้ความร่วมมือในการ
ดำเนินงานด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล อุปสรรคหรือภาวะคุกคามหน่วยงานต้นสังกัดมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรในสถานศึกษาด้านการ
รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนของสถานศึกษาด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และโรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานด้านการรู้จักนักเรียน
รายบุคคล การคัดกรองนักเรียน จุดแข็ง การคัดกรองนักเรียน
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลแล้วนำผลที่ได้
มาจำแนกตามเกณฑ์การคัดกรองที่สถานศึกษา ได้จัดทำขึ้น จุดอ่อน โรงเรียนมีการวางแผนและกำหนดปฏิทินดำเนินงานด้านการคัดกรองนักเรียนไว้อย่างชัดเจน
มีการสรุปและรายงานผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายชั้นและภาพรวมของสถานศึกษา และมีการคัดกรองนักเรียนทุกคนโดยบันทึกข้อมูลลงในแบบคัดกรองนักเรียนรายบุคคล
โอกาส คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานด้านการคัดกรองนักเรียน
ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการคัดกรองนักเรียน โรงเรียนมีการประชุมครู
คณะกรรมการสถานศึกษา
และผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกำหนดเกณฑ์การคัดกรองนักเรียนที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
และมีการทำความเข้าใจและแจ้งวัตถุประสงค์ของการคัดกรองให้นักเรียนและผู้ปกครองได้รับทราบ
อุปสรรคหรือภาวะคุกคาม หน่วยงานต้นสังกัดมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรในสถานศึกษาด้านการ
คัดกรองนักเรียน มีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนการ
ดำเนินงานในด้านการคัดกรองนักเรียนของสถานศึกษาโรงเรียนมีการนำเทคโนโลยี
หรือโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ในการคัดกรองนักเรียน
และมีการประสานความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำเครื่องมือ
และให้ความรู้ในการคัดกรองนักเรียนแก่ครูและผู้เกี่ยวข้อง การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
จุดแข็ง การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
เป็นการสนับสนุนให้นักเรียนทุกคนที่อยู่ในความดูแลของครูที่ปรึกษา
ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความภาคภูมิใจในตนเอง
ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปกติ กลายเป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มมีปัญหา
และเป็นการช่วยให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหากลับมามีพฤติกรรมที่ดีขึ้น
ตามที่สถานศึกษาหรือชุมชนคาดหวัง จุดอ่อน โรงเรียนมีการวางแผน
และกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน มีการประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนอย่างสม่ำเสมอทุกภาคเรียน
และมีการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนในรูปแบบของกิจกรรมโครงงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง
ๆ ตามความสนใจของนักเรียน โอกาส โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน
(Classroom meeting) เป็นประจำทุกภาคเรียน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมและให้การส่งเสริมสนับสนุนด้านการ
ส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
ผู้ปกครองให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการส่งเสริม
และพัฒนานักเรียน และเครือข่ายผู้ปกครองแต่ละชั้นเรียนให้การส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาด้านการ
ส่งเสริมและพัฒนานักเรียน อุปสรรคหรือภาวะคุกคาม โรงเรียนมีการส่งเสริมสนับสนุนการนำสื่อและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัด
กิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียน และหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานภายนอกมีส่วนช่วยสนับสนุนการดำเนินงาน
ในด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนของสถานศึกษา
การป้องกันและแก้ไขปัญหา จุดแข็ง การดูแลช่วยเหลือนักเรียนครูควรให้ความเอาใจใส่กับนักเรียนทุกคนเท่าเทียมกัน
แต่สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหานั้น
จำเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและหาวิธีการช่วยเหลือ
ทั้งการป้องกันและการแก้ไขปัญหา
โดยไม่ปล่อยปละละเลยนักเรียนจนกลายเป็นปัญหาของสังคมการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนมีหลายเทคนิค
วิธีการ จุดอ่อนโรงเรียนมีการนิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขนักเรียนทุกภาคเรียน มีการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี
(Case
Study) เพื่อการป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน และมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต
เช่นกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมแสดงความสามารถของนักเรียน เป็นต้น โอกาส
โรงเรียนมีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการช่วยเหลือป้องกัน
และแก้ไขปัญหานักเรียนอย่างสม่ำเสมอ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
และ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน อุปสรรคหรือภาวะคุกคาม
โรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างสื่อหรือเครื่องมือเพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
และหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานภายนอกมีส่วนช่วยสนับสนุนการดำเนินงานในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนของสถานศึกษา
การส่งต่อ จุดแข็ง การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน โดยครูที่ปรึกษา
ตามกระบวนการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียนนั้น
ในกรณีที่มีปัญหายากต่อการช่วยเหลือหรือช่วยเหลือแล้วนักเรียนมาพฤติกรรมไม่ดีขึ้น
ก็ควรส่งต่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กรณีที่มีเด็กมีความสามารถพิเศษหรือเด็กอัจฉริยะ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กด้อยโอกาส ก็ควรส่งต่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาและช่วยเหลืออย่างถูกทางและรวดเร็วขึ้นการส่งต่อ
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การส่งต่อภายใน และการส่งต่อภายนอก จุดอ่อน โรงเรียนมีแผนการดำเนินงานด้านการส่งต่อภายในและการส่งต่อภายนอกตามขั้นตอนของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
มีการบันทึก รายงานผลการส่งต่อและดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบตาม
ขั้นตอนการส่งต่อทั้งภายในและภายนอกที่ชัดเจน และมีการติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานด้านการส่งต่อนักเรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอทุกภาคเรียนโอกาส
โรงเรียนมีเครือข่ายสนับสนุนการดำเนิน งานด้านการส่งต่อทั้งภายในและภายนอก ครูที่ปรึกษามีการชี้แจงให้นักเรียน
ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องทราบถึงความจำเป็นในการส่งต่อนักเรียนไปยังผู้ให้การช่วยเหลือทุกครั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความร่วมมือและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานด้านการส่งต่อนักเรียนผู้ปกครองให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการส่งต่อนักเรียน
และโรงเรียนมีการติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานด้านการส่งต่อนักเรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอทุกภาคเรียน
อุปสรรคหรือภาวะคุกคามหน่วยงานภายนอกให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงานด้านการส่งต่อภายนอกของโรงเรียน
หน่วยงานต้นสังกัดเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการส่งต่อของสถานศึกษา
โรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานด้านการส่งต่ออย่างเหมาะสม
2.2
การยกร่างกลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีองค์ประกอบของกลยุทธ์ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์ (Vision) 2) เป้าประสงค์ (Goal) 3) กลยุทธ์ (Strategy) 4) พันธกิจ (Mission) 5) กลไกสู่การปฏิบัติและ 6) ตัวชี้วัด (Key Performance Indicator) และผลการตรวจสอบความเหมาะสมร่างกลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการนำกลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนไปสู่การปฏิบัติจริง
พบว่า
ความพึงพอใจของครูโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งที่มีต่อผลการนำกลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนไปสู่การปฏิบัติจริง
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
และความพึงพอใจของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.
ผลการศึกษาผลการใช้กลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
พบว่า
ผลการสอบถามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านโป่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก