ชื่อเรื่อง แนวทางการดำเนินการตามรูปแบบการบริหารเพื่อขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) ของโรงเรียนบ้านแหลมหอยด้วยวงจร 5G
ผู้วิจัย นายสุเมธ บุสโร
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 12 กรกฎาคม 2567
บทคัดย่อ
แนวทางการดำเนินการตามรูปแบบการบริหารเพื่อขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล
(OBEC
Content Center) ของโรงเรียนบ้านแหลมหอยด้วยวงจร 5G
มีกระบวนการวางแผนและชี้แจงแนวทางขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินงานตามขั้นตอนและกิจกรรมที่กำหนดและมีการนิเทศ ติดตาม
เพื่อให้การสนับสนุนที่ส่งเสริมให้การขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล โดยนำแนวคิดทฤษฎีการจัดการเชิงรุก
Active Learning โดยนำแนวคิดของ บลูม ( Benjamin S.
Bloom.1976) นักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น
ผู้สอนจะต้องก าหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้สอนกำหนดและจัดกิจกรรมการเรียน
รวมทั้งวัดประเมินผลได้ถูกต้อง โดยได้จำแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่เรียกว่า Taxonomy
of Educational Objectives และได้พัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนวงจร 5G
โดยมีขั้นตอนดังนี้
๓.๑ ศึกษา แนวคิด ทฤษฎี
แนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก แนวคิดด้านสื่อการเรียนการสอน
แนวคิดการสร้างทัศนคติในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดการบริหารงานด้วยวงจรคุณภาพ
(PDCA)
ตามแนวคิดของเดมมิ่ง การพัฒนางานโดยใช้กระบวนการ PLC และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๓.๒
จัดประชุมครูเพื่อสร้างความเข้าใจระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC
Content
Center) ให้ผู้เรียนสามารถสร้างและใช้สื่อจากคลังคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC
Content Center)
๓.๓
จำทำปฏิทินการประชุม นิเทศติดตาม และประกวด Best practice
ระดับสถานศึกษา
๓.๔
จัดทำรูปแบบวงจร 5G ที่มีองค์ประกอบ คือ ๑) หลักการ ๒) วัตถุประสงค์ ๓) กระบวนการ ๔) การวัดประเมินผล
และ ๕) ปัจจัยสนับสนุน มีรายละเอียดดังนี้
๓.๔.๑ หลักการของรูปแบบ
ยึดหลักการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการใช้งานระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล
(OBEC
Content Center) ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน และหลักการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านแหลมหอยได้เรียนรู้ร่วมกัน
และพัฒนาทักษะการสร้างและใช้สื่อจากคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content
Center) โดยใช้วงจรเดมมิ่ง PDCA ควบคู่วงจร 5G
๓.๔.๒ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
๓.๔.๒.๑ เพื่อขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล
(OBEC Content Center) ของโรงเรียนบ้านแหลมหอย
๓.๔.๒.๒ เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนโดยใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล
(OBEC Content Center)
๓.๔.๒.๓
เพื่อติดตามผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการเรียนรู้จากระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล
(OBEC Content Center)
๓.๔.๓ กระบวนการของรูปแบบวงจร 5G
๓.4.3.1 G1 - Good Leader มีผู้นำที่ดี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีแนวคิดเชิงบวกและเจตคติที่ดีในการทำงานร่วมกันในองค์กร
สามารถให้ความรู้และสนับสนุนให้ครูและบุคลากรบพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตลอดเวลา
๓.๔.๓.๒ G2 - Good Teacher มีครูผู้สอนที่ดี ครูผู้สอนมีความพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่
ตื่นตัว พร้อมถ่ายทอดความรู้สู้การพัฒนาผู้เรียน
โดยสามารถสร้างและใช้สื่อการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย
๓.๔.๓.๓ G3 – Great Technology มีเทคโนโลยีที่ดี การบริหารจัดการโดยอำนวยความสะดวกในด้านเทคโนโลยีของสถานศึกษา
ได้แก่สัญญาณอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์สำหรับใช้สื่อออนไลน์
๓.๔.๓.๔ G4 – Good participation มีการร่วมมือที่ดี เน้นการทำงานเป็นทีมหรือการทำงานแบบมีส่วนร่วม
สร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ PLC โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
๓.๔.๓.๕ G5 – Goal achieve
บรรลุเป้าหมาย
ด้วยการบวนจัดการเรียนการสอนเชิงรุก Active Learning ที่มีองค์ประกอบสำคัญได้แก่
การออกแบบและจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงรุก
การวัดผลประเมินผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือจัดประสงค์ของการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน