ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 โดยใช้สื่อการสอนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย กนกกาญจน์ แก้วนุช
ปีการศึกษา 2564
วันที่เผยแพร่ 4 สิงหาคม 2567
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา
2019 โดยใช้สื่อการสอนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี
(๑๐ปี สปช.)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวกนกกาญจน์ แก้วนุช
กลุ่มสาระ : กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ภาคเรียน :
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาเวลาเรียนไม่ต่อเนื่อง
เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 2)
เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน เมื่อเรียนด้วยการเรียนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 3) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/7 โรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี (๑๐ปี สปช.) จำนวน 35 คน ใช้ระยะเวลาตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในรายวิชาภาษาอังกฤษ
(อ 13101) สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
รวมทั้งสิ้น 40 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งสร้างขึ้นโดยผู้วิจัย
ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา
ภาษาอังกฤษ (อ 13101) 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
1)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
3/7 จำนวน 35 คน
ด้วยกิจกรรม
การเรียนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/7 จำนวน
35 คน
ที่ผ่านการจัดการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
มีผลการเรียน 4.00 (ดีเยี่ยม) จำนวน 34 คน
คิดเป็นร้อยละ 97.14 และมีผลการเรียน 3.50 (ดี) จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.86
2)
การจัดการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
สามารถแก้ไขปัญหาเวลาเรียนที่ไม่ต่อเนื่อง
เนื่องจากเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่
3/7 จำนวน 35 คน
ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
มีพฤติกรรมการส่งงานมากที่สุด จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 รองลงมาคือ
ความพร้อมในการเรียน
จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 91.43
การเข้าร่วมกิจกรรมในการเรียนออนไลน์ จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 88.57 และการมีส่วนร่วมในการเรียนจำนวน 30 คน
คิดเป็นร้อยละ 85.71
3) นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
3/7 จำนวน 35 คน
ที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
โดยภาพรวม มีความพึงพอใจด้านรูปแบบการใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน
และเนื้อหาเหมาะสมกับการนำเสนอ จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ความพึงพอใจด้านภาษาที่ใช้มีความเหมาะสม
จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 97.14
ความพึงพอใจด้านรูปแบบการสอนมีความเหมาะสม
น่าสนใจ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 94.29
ความพึงพอใจด้านคุณภาพเสียงประกอบบทเรียนมีความชัดเจน
จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 91.43
และความพึงพอใจด้านคุณภาพของภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ
82.86
คำสำคัญ
:
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ/ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 / สื่อการสอนออนไลน์ / นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
3