ชื่อเรื่อง การยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4RS Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดคูยาง
ผู้วิจัย นางสาวสุนิสา มณีเขียว
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 6 สิงหาคม 2567
บทคัดย่อ
การยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ
SQ4RS
Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 โรงเรียนวัดคูยาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ
SQ4RS Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดคูยาง
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ
4Re
Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนวัดคูยาง และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ที่มีต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4RS Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดคูยาง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566
โรงเรียนวัดคูยาง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 2 ห้องเรียน
จำนวนนักเรียน 83 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย
1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4RS Model เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดคูยาง 2)
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ปีการศึกษา 2566 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ
4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3)
แบบสอบถามความพึงพอใจ/ ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
โดยใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบ SQ4RS Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนวัดคูยาง เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้การทดสอบที (t – test Dependent) และหาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4RS Model นำไปหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ผลการศึกษา
พบว่า
1. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ
SQ4RS Model เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดคูยาง 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.44/83.00
แสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4RS
Model เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดคูยาง
มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2.
ผลการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ
SQ4RS Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดคูยาง
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
หลังทดลองสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4RS Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 โรงเรียนวัดคูยาง มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 17.47
คิดเป็นร้อยละ 87.35 และมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ
10.10 คิดเป็นร้อยละ
50.48 ซึ่งมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในมาตรฐาน ค 3.1
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดคูยาง ปีการศึกษา 2566
พบว่า ค่าเฉลี่ยร้อยละของการสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
วิชาคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 สูงกว่า
ปีการศึกษา 2565 โดยมีค่าพัฒนาเท่ากับ +5.03 คะแนน และในมาตรฐานที่ 3.1 รายวิชาคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 สูงกว่า
ปีการศึกษา 2565 โดยมีค่าพัฒนาการ +17.14