Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง ผลการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้และคำนวณเป็นโดยใช้โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community:SLC)

ผู้วิจัย นายศุภิษิต วราวิภดาพร

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 14 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          ผลของการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้และคำนวณเป็น ใช้นวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาโดยโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community :SLC) ที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านออกเขียนได้และคำนวณเป็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 ห้องเรียน 121 คน ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้รูปแบบการพัฒนาต่อยอดเป็นรูปแบบการพัฒนาที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 ห้องเรียน 100 คน และครูผู้สอน 6 คน (One Group Pre-test Post-test Design) (Fitz-Gibbon & Morris, 1987, หน้า 113) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย 4 รูปแบบ 1. การนิเทศไร้รูปแบบ 2. การเยี่ยมบ้านสอนอ่านเขียนคิดคำนวณ 3. การประชุมผู้ปกครอง และ 4. ผู้ปกครองสอนอ่านเขียนคำนวณ โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที                               

ผลการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้และคำนวณเป็นโดยใช้รูปแบบโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community :SLC ) พบว่า

(1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมสึกษาปีที่ 6  มีผลการอ่านออกเขียนได้และคำนวณเป็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 7

(2) ความพึงพอใจรูปแบบโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community :SLC) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในระดับดีมากร้อยละ 90

(3) รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School Learning as Community:SLC) มีความเหมาะสมในระดับดีมาก

(4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการอ่านออกเขียนได้และคำนวณเป็นสูงกว่าระดับประเทศ

ผลการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้และคำนวณเป็นโดยใช้โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community :SLC ) สามารถส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเขียนได้และคำนวณเป็นของนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้องเรียน จำนวน 100 คน และมีผลการทดสอบปลายปีเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาและค่าเป้าหมายในแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางเรียนรู้ปีการศึกษา 2566โรงเรียนบ้านเมืองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และต่อยอดในการสอนระดับชั้นอื่นได้