ชื่อเรื่อง Best Practices "การจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย"
ผู้วิจัย นางเสาวณีย์ อุ่นประเสริฐสุข
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 15 สิงหาคม 2567
บทคัดย่อ
Best
Practices "การจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย"
1.
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนวัดปทุมสราวาส
2.
การดำเนินงาน/กระบวนการ/วิธีการปฏิบัติ
การดำเนินการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
มีวิธีปฏิบัติดังนี้
2.1 การจัดกิจกรรมตามใบงานการทดลอง
จำนวน 20 กิจกรรม
2.1.1 เลือกกิจกรรมใบงานการทดลอง
20 กิจกรรม โดยเรียงลำดับจากกิจกรรมที่ง่ายไปหายาก
2.1.2 ศึกษารายละเอียดของกิจกรรม
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ขั้นตอนการทดลอง
2.1.3 ดำเนินการจัดกิจกรรมการทดลองโดยให้เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม
ครั้งละ 1 กิจกรรม ครูจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
เป็นผู้กระตุ้นเด็กด้วยการถามคำถามและอำนวยความสะดวกให้กับเด็กขณะดำเนินกิจกรรม
และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
2.2 จัดกิจกรรมโครงงานด้วยวัฏจักรการสืบเสาะ
1 โครงงาน โดยโครงงานเกิดจากความสนใจของเด็ก
3.
แผนการดำเนินงาน/ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
3.1
การจัดกิจกรรมตามใบงานการทดลอง จำนวน 20 กิจกรรม ดำเนินการจัดกิจกรรมภาคเรียนที่ 1จำนวน
10 กิจกรรม และภาคเรียนที่ 2 จำนวน 10 กิจกรรม
ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม 20 - 30 นาที
3.2
การจัดกิจกรรมโครงงาน ดำเนินการจัดกิจกรรมในภาคเรียนที่
2 ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์
ระยะเวลายืดหยุ่นตามความสนใจของเด็กและความเหมาะสมของแต่ละโครงงาน
4.
ผลการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อการพัฒนาความเปลี่ยนแปลงอย่างไร
4.1
เด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ และพัฒนาการทั้ง 4 ด้านส่งผลต่อการพัฒนาความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นที่เห็นได้จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กเมื่อดำเนินกิจกรรมไปได้ระยะหนึ่ง
เช่น เด็กสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงและสังเกตสิ่งต่างๆ ขณะทำการทดลองได้ดีขึ้น สามารถคาดคะเนคำตอบล่วงหน้า ลงความเห็นจากข้อมูลที่มีอยู่ นำเสนอข้อมูลต่อผู้อื่นได้ สามารถตั้งคำถามที่ตนเองสงสัย
ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้โดยปราศจากความขัดแย้ง
ได้รับความสนุกสนานและมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม เป็นต้น
4.2
พ่อแม่ ผู้ปกครอง
พ่อแม่ ผู้ปกครองได้รับรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในโรงเรียนและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
และให้การส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้ปกครองยอมรับและให้ความไว้วางใจในการจัดการเรียนการสอนของทางโรงเรียน
4.3 อื่นๆ
การจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยอย่างต่อเนื่องส่งผลให้โรงเรียนผ่านการประเมินทั้งหมด
๓ รอบ ทำให้โรงเรียนมีแนวทางในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง
และส่งผลให้เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมมีทักษะทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานในการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น ซึ่งอาจจะมีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต
5.
ปัจจัยที่ทำให้วิธีการประสบผลสำเร็จ
5.1 ผู้บริหารให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้จัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
5.2
เด็กมีความมุ่งมั่น ตั้งใจรับการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
5.3 ครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
5.4 ครู บุคลากร และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการสนับสนุน
ส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
6.
บทเรียนที่ได้รับ
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
มีการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น ผลจากการสังเกตพฤติกรรมพบว่าเด็กมีการพัฒนาทักษะการสังเกต การคาดคะเนคำตอบ การลงความเห็น การจัดกระทำและนำเสนอข้อมูล กล่าวคือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสามารถส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของปฐมวัยได้
เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง และกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยนั้นส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และทำกิจกรรมโดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะ ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการสืบเสาะสามารถที่จะพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ เนื่องจากการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการสืบเสาะในแต่ละขั้นตอนนั้น
ช่วยส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ในหลายๆ ทักษะ
นอกจากจะให้เด็กได้เรียนรู้และหาคำตอบในสิ่งที่ตนเองสนใจ แล้วยังเป็นการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมด้วย ซึ่งขณะนี้มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเพิ่มมากขึ้น
นับว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยที่จะได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์
และพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ควบคู่กันไป