Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย

ผู้วิจัย นายพิษณุ คามวาสี

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 15 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง

รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย

ผู้วิจัย

นายพิษณุ  คามวาสี

คำสำคัญ

รูปแบบ, การบริหารจัดการ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, พัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ปีที่วิจัย

ปีการศึกษา 2566-2567

 

บทคัดย่อ

 

          การวิจัย เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย 3) เพื่อใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย การดำเนินการวิจัยแบงออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย มีการดำเนินงานขั้นตอนย่อย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย โดยการวิเคราะห์เอกสาร และขั้นที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์เพื่อวิเคราะห์และจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย โดยการสอบถามผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนอนุบาลเชียงราย จำนวน 191 คน ระยะที่ 2 พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย มีการดำเนินงานขั้นตอนย่อย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ยกร่างรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วยรองผู้อำนวยการโรงเรียน 4 คน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ 4 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 คน ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 คน และผู้วิจัยซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม รวมทั้งสิ้น 22 คน ขั้นที่ 2 ตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน ขั้นที่ 3 จัดทำและประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย ระยะที่ 3 ใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย และประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย เพื่อความสะดวกและชัดเจนในการปฏิบัติงาน แล้วใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย มีการดำเนินงานขั้นตอนย่อย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 นำรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย ไปใช้จริง โดยคณะผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนอนุบาลเชียงราย ขั้นที่ 2 ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย โดยคณะครูและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเชียงราย ระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย โดยการสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน

          ผลการวิจัย พบว่า

          1. การบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย โดยยึดมาตรฐานการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สามารถแบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการปฏิบัติงานตามภาระงานที่ ก.ค.ศ. กำหนด องค์ประกอบที่ 2 ด้านการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 3 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ และองค์ประกอบที่ 5 ด้านการจัดทำประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้

          ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย พบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (μ =3.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลางทุกองค์ประกอบ ซึ่งองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ (μ =3.34) และผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย พบว่า สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ =3.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ ซึ่งองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดการเรียนรู้ (μ = 4.87) และเมื่อพิจารณาตามค่าความต้องการจำเป็น พบว่า องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้ (  = 0.59)

          2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย พบว่าประกอบด้วยองค์ประกอบและตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการปฏิบัติงานตามภาระงานที่ ก.ค.ศ. กำหนด องค์ประกอบที่ 2 การจัดการเรียนรู้ มีจำนวน 8 ตัวชี้วัด คือ 1) สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร 2) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย 6) การศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และหรือวิจัยเพื่อแก้ปัญหา 7) การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน 8) การอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน องค์ประกอบที่ 3 การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ มีจำนวน 4 ตัวชี้วัด คือ 1) การจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา 2) การดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 3) การร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการและงานอื่น ๆ 4) การประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย องค์ประกอบที่ 4 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ มีจำนวน 3 ตัวชี้วัด คือ 1) การพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 2) การมีส่วนร่วมและเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) การนำความรู้ ความสามารถและทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 5 การจัดทำประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยในแต่ละองค์ประกอบและตัวชี้วัดได้มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะผู้บริหารและคณะครูในการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน

          การตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 ท่าน พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย มีความตรงและความเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการบริหารจัดการ และผลการประเมินร่างรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย มีความเหมาะสมทุกองค์ประกอบ

การจัดทำและประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน พบว่า ผลการยกร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย สรุปองค์ประกอบของคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย ประกอบด้วย 1) คำนำ 2) คำชี้แจงการใช้คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย 3) สารบัญ 4) ส่วนที่ 1 บทนำ 5) ส่วนที่ 2 รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย 6) ส่วนที่ 3 แนวทางการใช้คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย 7) ส่วนที่ 4 ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย 8) บรรณานุกรม และ 9) ภาคผนวก และมีค่าความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.60)

          3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย พบว่า คณะผู้บริหารได้ทำหน้าที่ในการส่งเสริม และคณะครูได้ดำเนินการตามรูปแบบครบถ้วนในทุกองค์ประกอบและตัวชี้วัด ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ สามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพผู้เรียนสำเร็จการศึกษาได้ร้อยละ 100 ได้รับรางวัลการันตีคุณภาพจากองค์กรภายนอก ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างที่หลากหลาย มีสุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม ผู้เรียนมีผลการทดสอบระดับชาติในทุกระดับสูงกว่าระดับชาติ และมีผลงานที่โดดเด่นปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด เมื่อวิเคราะห์คุณภาพของผู้เรียนมีค่าคะแนนด้านคุณภาพผู้เรียนของปีการศึกษา 2566 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2565 ในทุกด้าน โดยพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.56 ค่าเฉลี่ยด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.54 ค่าเฉลี่ยการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.54 ค่าเฉลี่ยการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ(NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.48 และค่าเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.22 นอกจากนี้เมื่อพิจารณาผลงานเชิงประจักษ์ของนักเรียนในปีการศึกษา 2566 ที่เข้าร่วมการแข่งขันต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ พบว่านักเรียนได้รับรางวัล จำนวน 7 รายการ และนักเรียนมีผลการทดสอบระดับชาติในทุกระดับชั้นได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน จำนวน 146 คน

          ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.62) และระดับความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.69)

4. ผลการประเมินรับรองรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 ท่าน มีความเห็นว่า รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้องครอบคลุม และด้านความเป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (μ = 4.66)