Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การจัดการเรียนรู้บูรณาการอัตลักษณ์วิถีเพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพให้กับนักเรียนในกิจกรรมชุมนุม โดยใช้รูปแบบ SUEBSAN Model โรงเรียนทาขุมเงินวิทยาคาร

ผู้วิจัย วัชรพงษ์ พิริแก้ว

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 15 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

 จากการจัดการเรียนรู้บูรณาการอัตลักษณ์วิถี เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิต และทักษะอาชีพให้กับนักเรียนในกิจกรรมชุมนุม โดยใช้รูปแบบ SUEBSAN Model โรงเรียนทาขุมเงินวิทยาคาร มีหลักการใช้แนวคิดและทฤษฎี ในเรื่องปัจจัยนำเข้าส่งผลต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ 4m และหลักการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCAA เป็นการต่อยอดความยั่งยืน (A = Accredited System ) คือความต่อเนื่องยั่งยืน ได้แก่ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จัดเวทีวิชาการ เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายผล สร้างเครือข่าย เกิดเจตคติในการ  สืบทอดอย่างยั่งยืนของรูปแบบการจัดการเรียนรู้

ดำเนินการจัดการเรียนรู้บูรณาการในกิจกรรมชุมนุมเป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเป็นไปตามหลักสูตรของสถานศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนานักเรียน ตามความต้องการ ความสนใจ มีการวิเคราะห์ ผู้เรียน หลักสูตร กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดกรอบของเนื้อหา มีการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นฐาน รวมทั้งปราชญ์ในชุมชนร่วมพัฒนานักเรียนอย่างมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรม ลงมือปฏิบัติในรูปแบบของการจัดการเรียนรู้ Active Leaning

การจัดการเรียนรู้บูรณาการอัตลักษณ์วิถีส่งผลให้นักเรียนเกิด สมรรถนะสำคัญ คือ ความสามารถด้านการสื่อสาร ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับให้กับเพื่อน ต่อยอดเป็นแกนนำในการอนุรักษ์อัตลักษณ์วิถีของโรงเรียน มีความสามรถด้านการคิดสร้างสรรค์ผลงาน ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี มีผลสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จากการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนในระดับอำเภอ ทั้งหน่วยงานภายนอก และหน่วยงานภายใน จนได้รับรางวัลเชิงประจักษ์ ส่งผลให้นักเรียนเกิดเจตคติที่ดีต่ออัตลักษณ์วิถี ไม้แกะสลักของดีโรงเรียนทาขุมเงินวิทยาคาร และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแรงบันดาลใจทางเลือกในการประกอบอาชีพในอนาคต ตอบโจทยืความต้องการ สืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไม่ให้สูญหายไปจากท้องถิ่น ชุมชน

ปัจจัยที่มีส่วนในการจัดการเรียนรู้บูรณาการอัตลักษณ์วิถี จนบรรลุตามวัตถุประสงค์ คือองค์ประกอบจากการได้รับความร่วมมือของปราชญ์ชุมชน ภาคีเครือข่ายที่ให้โอกาสและการสนับสนุน อีกทั้งแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน ส่งผลให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์เป็นรูปธรรม จากการสร้างประสบการณ์การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จึงเป็นการสร้างองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ยั่งยืน