Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้วิจัย วสุรงค์ พรหมคุณ

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 18 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

ชื่อผลงาน    : การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง     
               
        Thinking School โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้ประเมิน    : นายวสุรงค์ พรหมคุณ

                      ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ

ปีที่รายงาน : 2567

บทคัดย่อ

            ารประเมินโครงการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการในด้านต่างๆ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยในส่วนด้านผลิตนั้นมีการประเมินแบ่งออกเป็น 4 ด้านย่อย ประกอบด้วย ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และความสามารถในการขยายผลโครงการ ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา ส่งเสริมความสำเร็จ ในการดำเนินงานตามโครงการ โดยทำการประเมินกับประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน  ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 15 คน และนักเรียน จำนวน 100 คน รวมทั้งสิ้น 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบ 2) ประสิทธิผล 3) ความยั่งยืน 4) ความสามารถในการขยายผลโครงการ และฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับนักเรียน ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบ 2) ประสิทธิผล 3) ความยั่งยืน 4) ความสามารถในการขยายผลโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา บรรยายสรุปในเชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

                ผลการประเมิน พบว่า 1) ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ด้านบริบทโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.65α = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ หลักการ และเหตุผลของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.75,α = 0.45) 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านปัจจัยนำเข้าโดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก (µ = 4.33,α = 0.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการนวัตกรรมการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School อย่างชัดเจน อยู่ในระดับมากที่สุด (µ= 4.75,α = 0.45) 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 3.1) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านกระบวนการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ= 4.27,α = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ปฏิทินการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรม มีความชัดเจนและ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ= 4.63,α = 0.50) 3.2) นักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านกระบวนการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.64, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ครูเขียนหรือบอก เรื่องที่จะเรียน และวัตถุประสงค์การเรียนรู้อย่างชัดเจน อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.79, S.D. = 0.41) 4) ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) 4.1) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) 4.1.1) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความพึงพอใจในโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.64,α = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สร้างบรรยากาศที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.88,α = 0.34) 4.1.2) นักเรียน มีความพึงพอใจในโครงการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.59, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ นักเรียนรู้สึกว่าการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ช่วยลดความเครียดในการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.77, S.D. = 0.42) 4.2) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) 4.2.1) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านประสิทธิผลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.32,α = 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ครูมีสามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.69,α = 0.48) 4.2.2) นักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านประสิทธิผลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.50, S.D. = 0.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.76, S.D. = 0.49) 4.3) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) 4.3.1) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นด้านความยั่งยืนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.39,α = 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ โรงเรียนใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เป็นนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.81,α = 0.40) 4.3.2) นักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านความยั่งยืนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.53, S.D. = 0.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดเป็นนโยบายให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินโครงการของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.64, S.D. = 0.48) 4.4) ด้านความสามารถในการขยายผล (Transportability Evaluation) 4.4.1) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านความสามารถในการขยายผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.21,α = 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ โรงเรียนมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.63,α = 0.50) 4.4.2) นักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านความสามารถในการขยายผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.48, S.D. = 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ โรงเรียนมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.73, S.D. = 0.45)