ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้วิจัย นายชวลิต แก้วเก้า
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 20 สิงหาคม 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครู
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช 3)
เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครู
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครู
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทศบาลปากพนัง
๑ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมายเป็นครู โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑
อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 39 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครู
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครู
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้แบบสอบถาม
กลุ่มเป้าหมายเป็นครู โรงเรียนเทศบาล
ปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 39 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครู
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
3) ระบบงานและกลไกการดำเนินงานของรูปแบบ 4) วิธีดำเนินงานของรูปแบบ
5) การประเมินรูปแบบ และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ
ขอบข่ายและภารกิจของการบริหารวิชาการมี 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
3) ด้านการวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน 4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 5) ด้านการนิเทศการศึกษา 6) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และ 7) ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
3. หลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครู
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช นักเรียนโรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป โดยรวมและรายกลุ่มสาระการเรียรู้ ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกด้านสูงกว่าระดับจังหวัด ระดับสังกัด
และระดับประเทศ และผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบ
ระหว่างปีการศึกษา 2565 กับปีการศึกษา 2566 เพิ่มขึ้นทุกด้าน ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET)
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2566 วิชาภาษาไทย
สูงกว่าระดับสังกัด และระดับประเทศ แต่ต่ำกว่าระดับจังหวัด วิชาคณิตศาสตร์
วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาภาษาต่างประเทศ สูงกว่าระดับจังหวัด ระดับสังกัด
และระดับประเทศ ผลการเปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2565 กับปีการศึกษา
2566 มีคะแนนเพิ่มขึ้นใน 3 รายวิชา ได้แก่
วิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาต่างประเทศ ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนลดลง และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลปากพนัง
๑ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยร่วมอยู่ในระดับมาก
4. ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครู
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับมากที่สุด