ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการหลักสูตรพิเศษ ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง (ตามโครงการหนึ่งโรงเรียนสองระบบ)
ผู้วิจัย สายสุดา ฤทธิยงค์
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 23 สิงหาคม 2567
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่องวิจัย รายงานการประเมินโครงการหลักสูตรพิเศษ
ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง
(ตามโครงการหนึ่งโรงเรียนสองระบบ)
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวสายสุดา ฤทธิยงค์
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการหลักสูตรพิเศษ ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง
(ตามโครงการหนึ่งโรงเรียนสองระบบ) ครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการจำนวน
3 ด้าน คือ (1) ผู้เรียนมีทักษะการเรียนและทักษะการทำงานให้สำเร็จเต็มตามศักยภาพ
(2) ผู้เรียนมีทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกัน
ผ่านประสบการตรงและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (3) ผู้เรียนให้สามารถค้นพบความถนัด
นำไปต่อยอด สร้างสรรค์ชิ้นงานได้ด้วยตนเอง โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิป (CIPP Model)
กลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินโครงการครั้งนี้
จำนวน 90 คน แบ่งออกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนผู้รับผิดชอบกิจกรรม
จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครองจำนวน 35 คน และนักเรียนจำนวน 35 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ชุด ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า
5 ระดับ รวมทั้งสิ้นจำนวน 54 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้อง
0.8 ถึง 1.0 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ 0.20 ถึง 0.90 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน
พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า การประเมินโครงการกิจกรรมห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง
(ตามโครงการหนึ่งโรงเรียนสองระบบ) ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดกลาง
สังกัดเทศบาลนครนครขอนแก่น ด้านบริบท อยู่ในระดับมาก
และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า โครงการมีองค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
ปัญหาและความต้องการของชุมชน มีค่าเฉลี่ยสุดท้าย
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า การประเมินโครงการกิจกรรมห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง
(ตามโครงการหนึ่งโรงเรียนสองระบบ) ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดกลาง
สังกัดเทศบาลนครนครขอนแก่น ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก
และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า
งบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอและมีความเหมาะสมและสื่อ วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม
มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
และระบบการบริหารในโรงเรียนเอื้อต่อการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยสุดท้าย
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า การประเมินโครงการกิจกรรมห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง (ตามโครงการหนึ่งโรงเรียนสองระบบ)
ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สังกัดเทศบาลนครนครขอนแก่น ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า
การวางแผนการจัดกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
และผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยสุดท้าย
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า พบว่าการประเมินโครงการกิจกรรมห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง (ตามโครงการหนึ่งโรงเรียนสองระบบ) ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สังกัดเทศบาลนครนครขอนแก่น ด้านผลผลิต โดยภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านผู้เรียนมีทักษะการเรียนและทักษะการทำงานให้สำเร็จเต็มตามศักยภาพมีค่าเฉลี่ย รองลงมาคือ ด้านผู้เรียนมีทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกัน ผ่านประสบการตรงและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขมีค่าเฉลี่ย และมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านผู้เรียนให้สามารถค้นพบความถนัด นำไปต่อยอด สร้างสรรค์ชิ้นงานได้ด้วยตนเอง มีค่าเฉลี่ยสุดท้าย