ชื่อเรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้การบูรณาการ Technological Pedagogical Content Knowledge (TPACK) + Content and Language Integrated Learning (CLIL) + Project Based Learning (PBL) + Community Based Learning (CBL) ร่วมกับกระบวนการ 5E และนวัตกรรมตามกระบวนการคุณภาพ POLM เพื่อพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ ในรายวิชาเพศวิถีศึกษา เรื่อง การล่วงละเมิดทางเพศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย ณิชารัศม์ จิระพิทักษ์ชัย
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 4 กันยายน 2567
บทคัดย่อ
1. ความสำคัญของของผลงานนวัตกรรม
องค์การอนามัยโลก (WHO)
ได้รายงานว่าในปี 2021 ประมาณ 1 ใน 3
ของผู้หญิงทั่วโลกเคยประสบกับความรุนแรงจากคนใกล้ชิดหรือการถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยบุคคลที่ไม่ใช่คู่ชีวิต
อย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต นอกจากนี้ในระดับโลก
ความรุนแรงที่เกิดจากคนใกล้ชิดเป็นรูปแบบความรุนแรงที่พบได้บ่อยที่สุด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงอายุ 15-49 ปี ซึ่งพบว่าความรุนแรงจากคนใกล้ชิดเป็นรูปแบบที่พบบ่อยที่สุด ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาและการให้ความรู้เรื่องเพศวิถีศึกษา
เพื่อช่วยลดปัญหาความรุนแรงทางเพศและปกป้องผู้คนจากการตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศ
กระบวนการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษามุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดพฤติกรรมด้านความรู้
เจตคติ คุณธรรม ค่านิยม และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่กับการออกกำลังกาย
การเล่นเกมและกีฬา โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย
เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
เน้นกิจกรรมที่พัฒนาความสามารถในการตัดสินใจ ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติ
การตรวจสอบ และการประเมินผล
อีกทั้งยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยรวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา
ในด้านสุขภาพและการกีฬาได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ, 2560 หน้า 164) รายวิชาเพศวิถีศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระนี้
และเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเรื่อง “เพศ” เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้
เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข อย่างไรก็ตามเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศยังคงเป็นปัญหาของนักเรียน
เนื่องจากการสังเกตพฤติกรรมจากการจัดการเรียนรู้วิชาเพศวิถีศึกษาในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 ข้าพเจ้าพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับสิทธิของตนเอง แต่ขาดความรู้ความเข้าใจ
และการให้ความสำคัญเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ นักเรียนมักเข้าใจผิดว่าการล่วงละเมิดทางเพศจำกัดเพียงแค่การถูกเนื้อต้องตัวเท่านั้น
ไม่คิด ก่อนทำพฤติกรรมต่างๆ กับผู้อื่น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อจิตใจและความปลอดภัยของผู้ที่ถูกล่วงละเมิดได้อย่างรุนแรง
ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเพศวิถีศึกษา เรื่อง การล่วงละเมิดทางเพศ
อยู่ในระดับที่ควรพัฒนา
จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน
และหนึ่งในหลายปัจจัยนั้นได้แก่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งในหลากหลายวิธีสอนนั้นมีข้อดีและข้อเสีย
ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับช่วงวัย ความรู้ ความสามารถของผู้เรียน
ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนวิชาเพศวิถีศึกษา ความรู้ และทักษะการตัดสินใจของผู้เรียน
เป็นสิ่งที่สำคัญ
เพราะสามารถทำให้ผู้เรียนนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการพัฒนาความรู้
และทักษะการตัดสินใจของผู้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้
ข้าพเจ้าจึงได้แก้ปัญหาดังกล่าวโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active
Learning) โดยใช้การบูรณาการ Technological Pedagogical
Content Knowledge (TPACK) + Content and Language Integrated Learning (CLIL) +
Project Based Learning (PBL) + Community Based Learning (CBL) เป็นเทคนิคการสอนที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่หลากหลายและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนในหลายๆ
ด้าน ทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ การสื่อสาร
และการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับกระบวนการ 5E ที่เป็นรูปแบบการสอนที่สามารถทำให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
โดยใช้การตั้งคำถามให้ผู้เรียนได้ดึงประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้หรือฝึกฝน มาคิด
และลงมือทำ จนเกิดเป็นการเรียนรู้จากความเข้าใจของตนเอง (อักษรเจริญทัศน์, 2565) และนวัตกรรมตามกระบวนการคุณภาพ
POLM เป็นการบริหารจัดการศึกษาให้เกิดคุณภาพ นำมาใช้เพื่อให้การจัดการเรียนรู้มีโครงสร้างและเป็นระบบมากขึ้น
ทำให้กระบวนการสอนมีคุณภาพสูงและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน (เสริมศักดิ์
วิศาลาภรณ์, 2555)
เพื่อพัฒนานักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้เกิดทักษะการเรียนรู้ เรื่อง
การล่วงละเมิดทางเพศ
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของผลงานนวัตกรรม
2.1 วัตถุประสงค์
1)
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการปฏิบัติตนในการป้องกันสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4
2)
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเพศวิถีศึกษา เรื่อง การล่วงละเมิดทางเพศ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2.2
เป้าหมาย
1)
เชิงปริมาณ
-
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
โรงเรียนหันห้วยทรายพิทยาคม อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
ได้เข้ารับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 100
2)
เชิงคุณภาพ
-
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการปฏิบัติตนในการป้องกันสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศ
-
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเพศวิถีศึกษา เรื่อง
การล่วงละเมิดทางเพศ ในระดับผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และคิดเป็นร้อยละ 70
ขึ้นไป ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
ผลการศึกษาพบว่า
จากการจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) โดยใช้การบูรณาการ Technological Pedagogical Content Knowledge
(TPACK) + Content and Language Integrated Learning (CLIL) + Project Based
Learning (PBL) + Community Based Learning (CBL) ร่วมกับกระบวนการ
5E และนวัตกรรมตามกระบวนการคุณภาพ POLM
เรื่อง การล่วงละเมิดทางเพศ นั้น ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นสนุกสนาน
อยากที่จะเรียนรู้ และมีความสนใจในการทำกิจกรรมในห้องเรียนเป็นอย่างมาก
จากการสังเกตการทำกิจกรรมกลุ่ม รู้จักการบูรณาการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา (TPACK), มีการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษกับเรื่องที่เรียนมากขึ้น (CLIL), ในการทำงานกลุ่มผู้เรียนรู้จักการวางแผน
มีการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตามเหตุการณ์และประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ในทางสร้างสรรค์
(PBL) และสามารถประชาสัมพันธ์ความรู้จากประสบการณ์ในห้องเรียนไปสู่สังคมได้
(CBL) โดยการวัดและประเมินผลจากการสังเกต
การสอบถามในชั้นเรียน การทดสอบ การประเมินผลจากใบกิจกรรมและกิจกรรมบทบาทสมมุติ และผลคะแนนสอบหลังเรียน เรื่อง
การล่วงละเมิดทางเพศเมื่อเทียบเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
เป็นรายบุคคล พบว่า มีนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 75
ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และมีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5
ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด