Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการที่ยึดค่านิยม PATUM MODEL โดยใช้วงจรคุณภาพ สู่ผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา

ผู้วิจัย อุปกิต ทรวงทองหลาง

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 4 กันยายน 2567

บทคัดย่อ

อุปกิต ทรวงทองหลาง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการที่ยึดค่านิยม PATUM MODEL โดยใช้วงจรคุณภาพ สู่ผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการที่ยึดค่านิยม PATUM MODEL โดยใช้วงจรคุณภาพ สู่ผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา วิธีการดำเนินการพัฒนารูปแบบมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นพัฒนารูปแบบการพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการที่ยึดค่านิยม PATUM Model โดยใช้วงจรคุณภาพ สู่ผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา มีกระบวนการดังนี้ ศึกษาข้อมูล เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างเครื่องมือในการวัดและประเมินผลรูปแบบ จากนั้นสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) หลังจากนั้น ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยวิธีหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Index of item objective congruence: IOC) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Item discrimination power) โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product-moment correlation) และ หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Coefficient alpha) ของครอนบาค (Cronbach) ของแบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของรูปแบบการพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการและคู่มือการใช้รูปแบบ โดยไปทดลองใช้ (Try out) กับครูผู้สอน และผู้บริหาร อย่างละ 15 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 2 ขั้นใช้รูปแบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการที่ยึดค่านิยม PATUM MODEL โดยใช้วงจรคุณภาพ สู่ผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา ใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของรูปแบบการพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการและคู่มือการใช้รูปแบบจริงกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะผู้บริหาร 4 คน และครูผู้สอน 73 คน ของโรงเรียนปทุมคงคา การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,366 คน คณะผู้บริหาร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 73 คน ของโรงเรียนปทุมคงคา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง มีขั้นตอนการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ระยะเวลาในการใช้รูปแบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบ 2 ปีการศึกษา และ 1 เทอมการศึกษา ได้แก่ ปีการศึกษา 2566 คือวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ปีการศึกษา 2567 คือวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 และเทอม 1 ปีการศึกษา 2568 คือวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2568 ด้วยเครื่องมือ มีดังนี้ 1) คู่มือการ ใช้รูปแบบและรูปแบบ 2) แบบตรวจสอบรายการด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมการบริหาร การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ระดับการพิจารณาผลการปฏิบัติ และ 3) แบบตรวจสอบรายการด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ระดับการพิจารณาผลงานหรือผลการปฏิบัติ

ผลการพัฒนารูปแบบพบว่า

1. รูปแบบการพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการที่ยึดค่านิยม PATUM MODEL โดยใช้วงจรคุณภาพ สู่ผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบการพัฒนานโยบาย 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการพัฒนานโยบาย 3) เนื้อหาสาระ 4) กระบวนการดำเนินการ และ 5) การวัดและประเมินผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา โดยรูปแบบมี 2 แกนหลัก 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 2 แกนหลัก คือ 1) ค่านิยม PATUM MODEL และ 2) วงจรคุณภาพ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดนโยบาย มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาปัญหา 2) การวิเคราะห์นโยบาย 3) การตัดสินใจนโยบาย 4) การนำนโยบายไปปฏิบัติ 5) การประเมินผลนโยบาย องค์ประกอบที่ 2 การพิจารณานโยบายที่ดี มี 6 ข้อ ได้แก่ 1) พัฒนาจากฐานข้อมูลที่เป็นจริง 2) สนับสนุนนโยบายของผู้บังคับบัญชาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 3) ภายในองค์กรเดียวกันต้องประสานนโยบายกัน 4) เป็นลายลักษณ์อักษรที่เข้าใจ 5) ยืดหยุ่นแต่มั่นคงอยู่บนหลักการหรือระเบียบข้อบังคับที่ถูกต้อง 6) นโยบายมีขอบเขตที่เข้าใจได้ด้วยเหตุผล และ องค์ประกอบที่ 3 ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ มี 10 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านการเรียนการสอน 3) ด้านการประเมินผลนักเรียน 4) ด้านการประกันคุณภาพ 5) ด้านการนิเทศ การสอน 6) ด้านสื่อการสอน 7) ด้านการพัฒนาบุคลากร 8) ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี 9) ด้านการวิจัยและการใช้สถิติ 10) ด้านเป้าหมายของสถานศึกษา

2. ผลการประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของรูปแบบการพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการที่ยึดค่านิยม PATUM MODEL โดยใช้วงจรคุณภาพ สู่ผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา และคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนา พบว่า ความเหมาะสมและความสอดคล้องของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ยร้อยละ เท่ากับ 4.35 และ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.60 ซึ่งรูปแบบและคู่มือมีความเหมาะสมและสอดคล้องอยู่ในระดับมาก แบบประเมินมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 และค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.64 - 0.89 และผลการใช้รูปแบบการพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการที่ยึดค่านิยม PATUM MODEL โดยใช้วงจรคุณภาพ สู่ผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา พบว่า

   2.1 ด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมการบริหาร ระดับการพิจารณาผลการปฏิบัติอยู่ในระดับ 5 คือปรากฏชัดเจนว่าสามารถปฏิบัติตามตัวชี้วัดได้ทุกข้อ

   2.2 ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา ระดับการพิจารณาผลงานหรือผลการปฏิบัติอยู่ในระดับ 5 คือปฏิบัติได้และปรากฏผลชัดเจนทุกตัวชี้วัด

คำสำคัญ : ผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา วงจรคุณภาพ ค่านิยม การบริหารงานวิชาการ รูปแบบการพัฒนานโยบาย