Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการจัดทำโครงงานด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ผสาน STEM ศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดหมน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้วิจัย นางพรพันธ์ เดชภูมิ

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 5 กันยายน 2567

บทคัดย่อ

รายงานการศึกษา ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการจัดทำโครงงานด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ผสาน STEM ศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนชุมชนวัดหมน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  2) ศึกษาความสามารถในการทำโครงงานหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ผสาน STEM ศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 และ3) ศึกษาความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ผสาน STEM ศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนชุมชนวัดหมน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนชุมชนวัดหมน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 10 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ผสาน STEM ศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชุด  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ผสาน STEM ศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 1 ชุด แบบประเมินความคิดเห็นต่อการใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ผสาน STEM ศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความสอดคล้อง (IOC) ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม E1 / E2 ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า  t – test 

ผลการศึกษาพบว่า         

1. ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ผสาน STEM ศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 มีค่าเท่ากับ 81.53/80.51

2. ผลการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานระหว่างการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีความสามารถในการทำโครงงาน อยู่ในระดับมาก

4) ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานหลังการจัดการเรียนรู้พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด