Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการนิเทศการภายในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบ PHOSAWAT Model และสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จากการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ของโรงเรียนบ้านโพธิ์สวัสดิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

ผู้วิจัย นางสาวสาวิตรี ศิริเวิน

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 8 กันยายน 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ชื่อผลงาน        การพัฒนาการนิเทศการภายในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบ PHOSAWAT Model

และสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จากการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)
ของโรงเรียนบ้านโพธิ์สวัสดิ์
  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

ผู้เสนอผลงาน   นางสาวสาวิตรี  ศิริเวิน

ตำแหน่ง         ผู้อำนวยการสถานศึกษา   วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

สังกัด             สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

ปีการศึกษา     2567

                   การพัฒนาการนิเทศการภายในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบ PHOSAWAT Model

และสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จากการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study ของโรงเรียนบ้านโพธิ์สวัสดิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 เล่มนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านโพธิ์สวัสดิ์ 2) เพื่อสงเสริมกระบวนการนิเทศในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 3) เพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียน บ้านโพธิ์สวัสดิ์ 4) เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ ดังต่อไปนี้

1. ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน นักเรียนมีการพัฒนาทักษะการอ่านออก เขียนได้ เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนทุกคนมีทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นตามกลุ่มสาระการเรียนรู้และเกิดการพัฒนาสมรรถนะ
ที่สำคัญ
5 ประการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่ 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิด 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี อีกทั้งนำไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้ลงมือปฏิบัติจริง
ในกิจกรรมการเรียนการสอนและการนิเทศตรวจเยี่ยมในชั้นเรียน

2. ผลที่เกิดขึ้นกับครู ครูผู้สอนมีจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

(Active Learning) และมีการสร้างการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จากการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนและทักษะที่จำเป็นตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ สามารถจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโพธิ์สวัสดิ์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. ผลที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโพธิ์สวัสดิ์มีรูปแบบการนิเทศภายในศึกษาที่เป็น

ระบบและมีกระบวนการที่ชัดเจน ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองและนักเรียน ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถนำนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดมาสู่การปฏิบัติได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมทั้งมีการส่งเสริมให้นักเรียนมีการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ มีสมรรถนะที่จำเป็นต่อผู้เรียนและมีคุณลักษณ์ที่พึ่งประสงค์และบรรลุมาตรฐาน ตัวชี้วัดตรงตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ ครูปรับวิธีการจัดการเรียนการสอน ทำให้มีวิธีการสอนที่มีความหลากหลายสูงขึ้น สถานศึกษามีการสร้างระบบการนิเทศที่เข้มแข็งทำให้สถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด

                   4. ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน จากผลการดำเนินการนิเทศการภายในสถานศึกษาสถานศึกษา
โดยใช้ โดยใช้รูปแบบ
PHOSAWAT Model และสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จากการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ของโรงเรียนบ้านโพธิ์สวัสดิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยดำเนินการนิเทศครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกคนและทุกระดับชั้นตั้งแต่ระดับชั้น
อนุบาล
1-ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีการเชิญคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านโพธิ์สวัสดิ์เข้ามานิเทศและตรวจเยี่ยมชั้นเรียนและมีการบูรณาการแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น (ประวัติก๊อกแดงโพธิ์สวัสดิ์สู่เมืองกำแพงเพชร) ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เกิดการเรียนรู้และเข้าใจสภาพชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ได้อย่างแท้จริง ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการปลูกฝังให้มีความรู้ รักและภูมิใจในท้องถิ่นและประเทศชาติ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน และส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา