ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้ LINK-S MODEL เพื่อพัฒนาทักษะการพูดและการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ผู้วิจัย นางสาวชัชฎาณัฏฐ์ พรคุณารักษ์
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 10 กันยายน 2567
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้ LINK-S MODEL
เพื่อพัฒนาทักษะการพูดและการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา ชัชฎาณัฏฐ์ พรคุณารักษ์
ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดบ้านบางลายเหนือ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิจิตร เขต 2
ปีที่ศึกษา 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้ LINK-S MODEL เพื่อพัฒนาทักษะการพูดและการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6
2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดและการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1
การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบรูปแบบและพัฒนา
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนวัดบ้านบางลายเหนือ
จำนวน 15 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
1) แผนการจัดการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
โดยใช้ LINK-S MODEL เพื่อพัฒนาทักษะการพูดและการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
(ภาษาอังกฤษ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
โดยใช้ LINK-S MODEL จำนวน 6 ชุด 3) แบบทดสอบวัดทักษะการพูดและการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t–test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้ LINK-S MODEL เพื่อพัฒนาทักษะการพูดและการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ 1) หลักการ นักเรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมได้เรียนจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
วิธีการสอนที่ไม่ฝืนธรรมชาติการเรียนรู้ภาษา และการทำกิจกรรมแสดงท่าทาง เพื่อความคงทนในการเรียนรู้
ได้รับความช่วยเหลือ แนะนำ ให้กำลังใจ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน 2) วัตถุประสงค์ พัฒนาทักษะการพูดและการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ องค์ประกอบที่ 2 องค์ประกอบเชิงกระบวนการการเรียนการสอน
1) กระบวนการจัดการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอนคือขั้นที่ 1 l = Link and repeat (เชื่อมโยงและทบทวน)
ขั้นที่ 2 I = Implicit Vocabulary (การเรียนรู้คำศัพท์ทางอ้อม)
ขั้นที่ 3 N = Network leaning (เครือข่ายการเรียนรู้)
ขั้นที่ 4 K = Knowledge gauge (ขั้นประเมินความรู้) ขั้นที่
5 S = Summarize and apply (การสรุปและประยุกต์ใช้ความรู้) องค์ประกอบที่ 3 องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนํารูปแบบไปใช้
1) 1. ปัจจัยเอื้อต่อการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนการสอนมีกระบวนการที่กระตุ้น 2) ปัจจัยสนับสนุน 3) ระบบสังคม (Social
system) 4) หลักการตอบสนอง ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้
เท่ากับ 85.85/90.90 2. หลังจากนักเรียนเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
โดยใช้ LINK-S MODEL นักเรียนมีทักษะการพูดและการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด