ชื่อเรื่อง การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้รูปแบบ MKS+โรงเรียนเมืองคง
ผู้วิจัย โรงเรียนเมืองคง
ปีการศึกษา 2565
วันที่เผยแพร่ 12 กันยายน 2567
บทคัดย่อ
1. ชื่อผลงาน การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้รูปแบบ MKS+โรงเรียนเมืองคง
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้โรงเรียน ผู้บริหาร ครูมีนวตกรรมในการดำเนินงานที่รับผิดชอบ
2.2 เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นคนที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถ รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
2.3 เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นคนที่มีคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.4 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น
2.5 เพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนให้เกิดคุณภาพอย่างยั่งยืน
3. วิธีดำเนินการ / ขั้นตอน / กระบวนการที่ดีของโรงเรียน (แสดงภาพประกอบ)
ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นการพัฒนาคนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สร้างการเป็นที่รัก การให้ การยอมรับ และเป็นต้นแบบให้กับบุคคลรอบข้างได้ถือปฏิบัติ การพัฒนาคนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการพัฒนาคนให้มีหลักคิด และหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ใช้หลักคุณธรรมนำความรู้ ซึ่งนอกจากพัฒนาตนเองแล้วยังสามารถพัฒนาครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติ (การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา , 2550 : 2) ในการประยุกต์แนวทางการพัฒนาคนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินการในสถานศึกษานั้น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ ที่ 1 การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา มีการสอดแทรกสาระเศรษฐกิจพอเพียงไว้ในการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และมุ่งเน้นให้สถานศึกษา จัดระบบการบริหารจัดการตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ยุทธ์ศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ : 2549)
การพัฒนาพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มต้นจากการศึกษาดูงานโรงเรียนที่ดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นองค์ความรู้ เชิญคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครูผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชน ให้มาร่วมกันประชุม เชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อร่วมกันสังเคราะห์ เป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ของคณะทำงาน ได้กำหนดกรอบในการพัฒนาคุณภาพ โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณนิสัย ของนักเรียน 6 ประการ ดังนี้
1. การสร้างจิตสำนึกที่ดีคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม
2. การรู้รักสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
3. การรักการเรียนรู้ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
4. การยึดมั่นคุณธรรมปฏิบัติตนตามหลักศาสนาโดยเคร่งครัด
5. การฝึกฝนอาชีพและการใช้จ่ายอย่างประหยัด
6. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จากกรอบของการพัฒนาคุณนิสัยของนักเรียนดังกล่าวนี้เอง ทางโรงเรียนโดยคณะครูและชุมชนจึงได้ร่วมกันพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้รูปแบบ MKS+โรงเรียนเมืองคง
ขึ้นมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ซึ่งมีรูปแบบในการพัฒนาดังนี้
1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการนำมาใช้
พัฒนานักเรียนในโรงเรียนจำนวน 2,411 คนให้มีคุณภาพ และดำเนินชีวิตในลักษณะพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายในปีการศึกษา 2565
2. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ
2.1 ร้อยละ 80 ผู้บริหาร ครูมีนวตกรรมในการดำเนินงานที่รับผิดชอบ
2.2 นักเรียนร้อยละ 80 เป็นคนที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถ รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
2.3 นักเรียนร้อยละ 80 เป็นคนที่มีคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.4 ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามค่าเป้าหมายที่กำหนด
2.5 สถานศึกษาได้รับการพัฒนาเป็นแบบอย่างมีผลงาน อย่างน้อย 1 ผลงาน
วัตถุประสงค์ เป็นไปตามเป้าหมายของนวัตกรรมที่กำหนดขึ้นได้นั้น โรงเรียนได้ดำเนินการ ดังนี้
นิยามศัพท์
MKS หมายถึง M : Morality หมายถึง ความดีงาม K : Knowledge คือ ความรู้ที่
เกี่ยวกับเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) และการนำ
เกณฑ์ฯ ไปใช้ในการบริหารจัดการระบบคุณภาพ (Quality System Management : QSM) และ
S : Student หมายถึง ผู้เรียนของโรงเรียนเมืองคง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ โรงเรียนเมืองคงจึงระดมความคิด เกิดนวัตกรรม
แนวคิด MKS Model (แบบจำลอง ความดีงามนำความรู้ ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21) ดังรูปที่ แสดงไว้ ความหมายของ M : Morality คือ ความดีงาม ซึ่งในความหมายนี้ MKS ยึดหลัก สัปปุริส
ธรรม 7 ธรรมที่ทำให้คนเป็นสัตบุรุษ หรือ เป็นคนดี คือ 1) ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ 2) อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล 3) อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน 4) มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ 5) กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จัก กาล 6) ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักชุมชน และ 7) ปุคคลัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ รู้เหตุ รู้ผล (ความมีเหตุผล) รู้ตน รู้ประมาณ (ความพอประมาณ) รู้กาล รู้บุคคล รู้ชุมชน (การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว) และ เงื่อนไขความรู้ และคุณธรรม ส่วน K : Knowledge คือ ความรู้ MKS ยึดหลักการ ตามกรอบความคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(OBECQA) 7 หมวด คือ 1) การนำองค์กร (Leadership) 2) กลยุทธ์ (Strategy) 3) ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Student and Stakeholder) 4) การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (Measurement Analysis and Knowledge Management) 5) บุคลากร (Workforce) 6) การปฏิบัติการ (Operations) และ 7) ผลลัพธ์ (Result) และ S : Student หมายถึง ผู้เรียนของโรงเรียนเมืองคง ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาให้เป็นผู้เรียน ที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และ ทักษะแห่งความพอเพียง ดังต่อไปนี้ คือ 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ(Critical Thinking Skill) 2) ทักษะการท างานร่วมกัน (Collaboration Skill) 3) ทักษะในการสื่อสาร (Communication Skill) 4) ทักษะความคิด สร้างสรรค์ (Creative Thinking Skill) 5) ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Literacy Skill) 6) ทักษะทางอาชีพและการใช้ชี วิต (Career & Life Skill) และ 7) ทักษะแห่งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Skill) ซึ่ง MKS Model นี้ได้เชื่อมโยงเอาความดีงามนำความรู้ สู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นผู้เรียนที่มีคุณลักษณะพอเพียง โดยในการบริหารจัดการระบบคุณภาพ การตัดสินใจในการดำเนินงานขององค์กร ได้นำเอา MKS Model เป็นฐานครอบคลุมในทุกมิติคุณภาพ