ชื่อเรื่อง รูปแบบกลยุทธ์การบริหารจัดการคุณภาพงานวิชาการสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อเสริมสร้างโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21
ผู้วิจัย นางสุภาพ ทองแก้ว
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 18 กันยายน 2567
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบกลยุทธ์การบริหารจัดการคุณภาพงานวิชาการสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อเสริมสร้างโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่
21 ของโรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม จังหวัดชลบุรี ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพปัญหาระบบการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา
การสร้างรูปแบบระบบการบริหารจัดการคุณภาพ การตรวจสอบแก้ไขรูปแบบระบบการบริหารจัดการคุณภาพ
การทดลองใช้รูปแบบระบบการบริหารจัดการคุณภาพ
และประเมินและปรับปรุงรูปแบบระบบการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่
21 ตัวอย่างประชากรที่ใช้ศึกษา จำนวน 180 คน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน
คณะกรรมการสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน
มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการคุณภาพ การบริหารสมรรถนะสู่โรงเรียนคุณภาพ
และรูปแบบการพัฒนายุทธศาสตร์ที่ใช้กิจกรรมโครงการด้วยการขับเคลื่อน โดยใช้เครื่องมือวิจัย
ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต
แบบสอบถามปัจจัยการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา แบบประเมินความเหมาะสม
แบบประเมินความเป็นไปได้ แบบประเมินความเป็นประโยชน์
ผู้วิจัยได้จัดเก็บด้วยตนเองจนครบตามจำนวนแล้วนำวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์และวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัย
พบว่า ระบบการบริหารมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการป้อนข้อมูล (Input) ขั้นตอนกระบวนการ
(Process) ขั้นตอนผลผลิต (Output) ขั้นตอนผลลัพธ์
(Outcome) ขั้นตอนการสะท้อนกลับ (Feedback) และขั้นตอนการต่อยอด (Feed Forward) ที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพการบริหารงานในขั้นตอน
ผลสะท้อนกลับ (Feed back) ในการพัฒนาวิธีการต่างๆ
ภายใต้โครงการตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ พัฒนาคนให้มีคุณค่า
สร้างมาตรฐานกับการเรียนรู้ ร่วมบริหารสู่เป้าหมาย ส่งเสริมให้ได้เป็นคนดี
และมีวิธีบูรณาการแบบพอเพียง โดยใช้กลยุทธ์ที่ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์หลักที่เรียกว่า SEE ประกอบด้วย S (SWOT Situation) หลักการวิเคราะห์สถานการณ์ E (Enforcement) การกระจายอำนาจด้วยการบังคับใช้กฎเกณฑ์ ระเบียบ และ E
(Empowerment) การเสริมพลังอำนาจในการปฏิบัติงาน 2) กลยุทธ์รองแบบ PDCA
คือ Plan วางแผน “ลดปัญหา” Do ลงมือทำเพื่อ “พัฒนาคน” Check ตรวจสอบ “เพิ่มผลงาน”
และ Act ปรับปรุงงาน สร้างคุณภาพ” เพื่อเพิ่มคุณภาพงานให้มีประสิทธิภาพที่จะปรับปรุงแก้ไขงานให้ตรงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้
3) กลยุทธ์เสริม คือ 1) ลดปัญหา
2) พัฒนาคน 3) เพิ่มผลงาน และ 4) สร้างคุณภาพ ภายใต้รูปแบบกลยุทธ์กการบริหารจัดการคุณภาพงานวิชาการ
ที่ประกอบไปด้วย 1) การวิเคราะห์ปัญหา 2) การกำหนดนโยบาย 3) การสร้างวิสัยทัศน์ 4)
การกำหนดพันธกิจ 5) การสร้างยุทธศาสตร์ 6) การทำโครงการ 7) การประเมินผล และ 8)
การรายงานผลเพื่อปรับปรุงแก้ไข และพัฒนางานใหม่
หากนำสิ่งเหล่านี้ไปดำเนินการกลยุทธ์อย่างเป็นระบบแล้วย่อมจะทำให้เกิดรูปแบบกลยุทธ์การบริหารจัดการคุณภาพงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างโรงเรียนคุณภาพสำหรับการขับเคลื่อนให้ทุกภาคส่วนของระบบการศึกษาในสถานศึกษามีคุณภาพและประสบความสำเร็จที่มีเป้าประสงค์เป็นโรงเรียนคุณภาพ
ครูคุณภาพ
นักเรียนคุณภาพและผ่านเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน โดยมีรูปแบบกลยุทธ์การบริหารจัดการคุณภาพงานวิชาการสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อเสริมสร้างโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่
21 ได้ร้อยละ 94.30 ซึ่งมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ
Z = 0.748 (ยุทธศาสตร์ที่
1) + 1.046 (ยุทธศาสตร์ที่
2) - 0.748 (ยุทธศาสตร์ที่ 3) + 0.172 (ยุทธศาสตร์ที่4)
- 0.116 (ยุทธศาสตร์ที่
5)