ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD 5 ขั้นตอน รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสุภัสสร กาติ๊บ
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 23 ตุลาคม 2567
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
โดยใช้เทคนิค STAD 5 ขั้นตอน รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD 5
ขั้นตอน รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1 3) ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียน
ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วย แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
โดยใช้เทคนิค STAD 5 ขั้นตอน รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD 5
ขั้นตอน รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1
กลุ่มเป้าหมาย คือ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 โรงเรียนบ้านสักลอ อำเภอ
จุน จังหวัดพะเยา
ปีการศึกษา 2566 จำนวน
10 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่
1) แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
โดยใช้เทคนิค STAD 5 ขั้นตอน รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน
6 เล่ม ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ
89.28/87.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2) แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ
โดยใช้เทคนิค STAD 5 ขั้นตอน รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง การเขียนสะกดคำ เป็นแบบปรนัย 3
ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
4) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียน
เรื่อง การเขียนสะกดคำ คำที่ประสมกับสระลดรูป และสระเปลี่ยนรูป
ที่เน้นฝึกทักษะด้านการเขียนด้วย ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค
STAD
5 ขั้นตอน
5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD
5 ขั้นตอน รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD
5 ขั้นตอน รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1 ผลการศึกษาพบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.28/87.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD
5 ขั้นตอน รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1 พบว่า คะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 19.50
คะแนนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 26.10
เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองครั้งพบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 ที่ตั้งไว้
3. ประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้
วัดความสามารถด้านการเขียนสะกดคำ พบว่าการวิเคราะห์ข้อมูลเมื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านเขียนของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD
5 ขั้นตอน รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1 มีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 6.00 คะแนนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 8.80 เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองครั้ง
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. แบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD
5 ขั้นตอน รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1 ในภาพรวม อยู่ในระดับพอใจมาก (= 4.50, SD = 0.53 )