ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ EPPE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสันทราย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้วิจัย อรวรรณ ปาวัณณะ
ปีการศึกษา 2561
วันที่เผยแพร่ 7 พฤศจิกายน 2567
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ EPPE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 โรงเรียนบ้านสันทราย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดของนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ EPPE Model และเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงผสม
กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสันทรายจำนวน 14 คน
ได้มา ผลการวิจัย พบว่า
รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ที่มีชื่อว่า “EPPE Model” มีองค์ประกอบ
คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอนและเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้
กระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการกระตุ้นเตรียมความพร้อม (Encouragement: E) 2) ขั้นการนำเสนอเนื้อหา จัดประสบการณ์การเรียนรู้และกระบวนการคิด (Presentation:
P) 3) ขั้นการฝึกทักษะ (Practice: P) ซึ่งประกอบด้วย
3 ขั้นตอนย่อย คือ ขั้นการฝึกทักษะโดยการชี้แนะ (Guided
Practice) ขั้นการฝึกทักษะอย่างอิสระ (Independent Practice)
และขั้นการประมวลทักษะ (Integrated Practice) และ
4) ขั้นการติดตามการนำไปใช้และปฏิบัติ (Ensure
distributive Practice: E) ผลการศึกษา พบว่า
หลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน EPPE Model นักเรียนมีความสามารถในการคิดสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 นักเรียนมีความสามารถในการคิดที่สูงขึ้น
โดยการวัดจากแบบทดสอบที่มีระดับความยาก- ง่าย
และซับซ้อนที่แตกต่างกัน และความสามารถในการคิดของนักเรียนพัฒนาขึ้นในช่วงเวลาระหว่างเรียน
อีกทั้งความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้
EPPE Model อยู่ในระดับมากที่สุด