ชื่อเรื่อง การบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินการประกัน คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
ผู้วิจัย พิชญ์พชร ฉายขุนทด
ปีการศึกษา 2558
วันที่เผยแพร่ 11 พฤศจิกายน 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู
2)
เปรียบเทียบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยจำแนกตาม ตำแหน่ง
วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ปีการศึกษา 2558 ผู้บริหาร 37 คน และครู 288 คน รวม 325 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้สถิติทดสอบค่า t-test และ F-test เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจึงทำการทดสอบเป็นรายคู่ตามวิธีเชฟเฟ่ (Scheffé’s Method)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับมากไปน้อย
ดังนี้ ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการรายงาน และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารวิชาการ
2. การเปรียบเทียบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู
จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
3.
การเปรียบเทียบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ที่ขนาดของสถานศึกษาต่างกัน ในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05
พบว่า
ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมากกว่า
ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดเล็กและขนาดกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า ด้านระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่
มีการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มากกว่าผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดเล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05