Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน ร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน ท้องถิ่นพระทองคำ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย ปาลิดา ธนะกุลภาคิน

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 12 พฤศจิกายน 2567

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน ร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน ท้องถิ่นพระทองคำ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย : นางสาวปาลิดา ธนะกุลภาคิน
ปีที่วิจัย : 2567

สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ภาษาไทยจัดเป็นเครื่องมือหลักในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลในสังคมรอบ ๆ ตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อความอยู่รอด การดำรงชีวิตที่มีคุณภาพของบุคคลผู้มีความสามารถในการใช้ภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านและการเขียนได้อย่างชัดเจน แม่นยำ คล่องแคล่ว ถูกกาลเทศะ เป็นไปเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์ ย่อมดำเนินชีวิตในสังคมไทยได้อย่างมีความสุข ได้รับการยอมรับและมีโอกาสในการประสบความสำเร็จใน การดำเนินชีวิต การเข้าถึงแหล่งความรู้ การพัฒนาตนเอง การประกอบอาชีพ การรู้ภาษาไทยยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดระบบความคิดและนำความคิดของตนไปสู่การปฏิบัติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการตัดสินใจการแก้ปัญหาและการสร้างสรรค์นวัดกรรม อีกทั้งยังช่วยให้บุคคลได้เข้าถึงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษต่อกันมาอย่างยาวนานในสังคมไทยได้อย่างภาคภูมิใจ ด้วยความสำคัญดังกล่าว หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง ทักษะการอ่านเป็นทักษะที่มีความสำคัญทักษะหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ที่ดีที่สุด ในปัจจุบันความรู้ต่าง ๆ ส่วนใหญ่นำเสนอในรูปของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร หนังสือ จุลสารต่าง ๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่มนุษย์ต้องสนใจในการอ่าน เพื่อให้ทันต่อความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะเห็นได้ว่าการอ่านทำให้เข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่าน ความสำเร็จในการเรียนวิชาต่างๆ จึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการอ่าน ทำให้เข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่าน และสามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดจากเรื่องที่อ่านได้เป็นอย่างดี โรงเรียนถนนสุรนารายณ์ (คุรุรัฐประชาสรรค์) ตระหนักถึงปัญหาการอ่านของนักเรียนจึงได้มีโครงการรณรงค์ให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน เช่น โครงการรักษ์ภาษาไทย โครงการประกวดการอ่านการเขียนในวันสำคัญต่างๆ ซึ่งโครงการต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับนักเรียนทั้งสิ้น แต่ผล การทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (Reading Test : RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 พบว่า ด้านการอ่านรู้เรื่องของนักเรียน มีค่าคะแนนร้อยละน้อยกว่าปีการศึกษา 2565 ดังภาพ 2 นอกจากนี้จากการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน (ท11101) ปีการศึกษา 2567 พบว่า ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ภูผา และหน่วยที่ 3 เรื่อง เพื่อนกัน พบว่า นักเรียนทั้ง 12 ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่านรู้เรื่อง ตามตัวชี้วัด ท 1.1 ป.1/3 ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลในตำรา เอกสาร หนังสือ และงานวิจัยต่าง ๆ พบว่าการสอนในศตวรรษที่ 21 นั้น มีกลวิธีหรือรูปแบบการสอนที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้พัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดให้แก่ผู้เรียน ดังนั้นในฐานะผู้สอนรายวิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2567 จึงมีความมุ่งมั่น คิดหาวิธีแก้ไขปัญหา โดยการนำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คือ การจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน โดยยึดหลักการว่า ผู้เรียนเรียนรู้โดยมีเป้าหมาย สิ่งที่เรียนมีประโยชน์และมีคุณค่าสำหรับผู้เรียน มีแรงบันดาลใจที่กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และผู้เรียนมีความศรัทธาต่อสิ่งที่เรียนรู้ และหากผู้เรียนได้สัมผัสโดยตรง และเข้าใจธรรมชาติของสมองโดยตรง ได้ใช้สมองทั้งซีกซ้ายซีกขวาอย่างเหมาะสมกับวัย และพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละบุคคล ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นอุ่นเครื่อง ขั้นนำเสนอความรู้ ขั้นลงมือเรียนรู้-ฝึกทำ ขั้นสรุปความรู้ และขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ จากการค้นคว้านวัตกรรมพัฒนาทักษะด้านการอ่านนั้น มีสื่อการเรียนรู้หลากหลายในยุคปัจจุบันที่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ ซึ่งผู้วิจัยเลือกใช้ ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน ท้องถิ่นพระทองคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เนื่องจากต้องการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่ถูกจัดรวมกันไว้เป็นชุด โดยมีการกำหนดเนื้อหาไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งเนื้อหาจะบูรณาความรู้ อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นโคราชสอดรับการหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนถนนสุรนารายณ์ (คุรุรัฐประชาสรรค์) ที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรักษ์ท้องถิ่น โดยชุดกิจกรรมนี้จะรวมประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้กับกลุ่มผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน ท้องถิ่นพระทองคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 วัตถุประสงค์ของประเด็นท้าท้าย 1. เพื่อสร้างชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน ท้องถิ่นพระทองคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน ท้องถิ่นพระทองคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนมีชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน ท้องถิ่นพระทองคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำหรับพัฒนาทักษะการอ่าน