Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมไม่สนใจเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 โดยใช้การเสริมแรงทางบวก

ผู้วิจัย นายพรพิทักษ์ ชอบใหญ่

ปีการศึกษา 2559

วันที่เผยแพร่ 20 พฤศจิกายน 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมไม่สนใจเรียนโดยการใช้การเสริมแรงทางบวกทางสังคม ให้คำยกย่องชมเชย  ที่มีต่อการลดพฤติกรรมไม่สนใจเรียนในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/QR   โรงเรียนด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5  การทดลองครั้งนี้ แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1               ระยะเส้นฐานพฤติกรรม เป็นการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเส้นฐานระยะที่ 2 ระยะการปรับพฤติกรรม ระยะที่ 3 ระยะการหยุดยั้ง เป็นระยะที่กลับมาใช้ในระยะที่ 1 อีกครั้งระยะที่ 4 ระยะการปรับพฤติกรรม เป็นระยะที่กลับมาใช้ในระยะที่ 2 อีกครั้ง และจากการสังเกตในระยะที่ 1 ระยะเส้นฐานพฤติกรรม นักเรียนมีพฤติกรรมไม่สนใจเรียนของ ด.ช.นพดล           สายขุนทด มีความถี่สูงสุดจำนวน 95 ครั้ง ตามลำดับหลังจากระยะที่ 2   เป็นระยะได้รับการปรับพฤติกรรม   พร้อมทั้งการเสริมแรงทางสังคม   พบว่า  ด.ช.นพดล           สายขุนทด มีพฤติกรรมไม่สนใจเรียนลดลงจริง

                                จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่และค่าเฉลี่ยของการสังเกตแต่ละครั้งของสัปดาห์ พฤติกรรมไม่สนใจชั้นเรียนของ ด.ช.นพดล           สายขุนทดในแต่ละระยะการทดลองพบว่า มีพฤติกรรมไม่สนใจเรียนเรียนลดลง ซึ่งเป็นระยะที่ได้รับการปรับพฤติกรรม พร้อมทั้งการเสริมแรงทางสังคม  ซึ่งจะเห็นได้จากกราฟ ภาพประกอบที่ 3 และ 4 ระดับและความลาดเส้นกราฟมีแนวโน้มของการแสดงพฤติกรรมไม่สนใจเรียนเปลี่ยนแปลงในลักษณะลดต่ำลง หลังจากได้รับการปรับพฤติกรรม ทั้งในระยะที่ 2 และระยะที่ 4  ซึ่งเป็นการปรับพฤติกรรมพร้อมทั้งให้การเสริมแรงทางสังคม มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่สนใจเรียน             

                                ผลจากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมไม่สนใจเรียนโดยการใช้การเสริมแรงทางบวกทางสังคม  โดยให้คำชมเชยยกย่องทางสังคม   ซึ่งเป็นตัวเสริมแรงที่มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสม กับ ด.ช.นพดล           สายขุนทด มากที่สุด และยังมีความสำคัญกระตุ้นให้นักเรียนนั้นแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมออกมาในทางที่ดีเพิ่มมากขึ้นอีก