ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องวัสดุและสสาร
ผู้วิจัย นางสาวภาวนา พรหมประโคน
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 20 พฤศจิกายน 2567
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
คือ 1. เพื่อพัฒนาคะแนนทักษะทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สื่อแบบฝึกทักษะ มีคะแนนทักษะทางการเรียนที่สูงขึ้น เรื่องวัสดุและสสาร
2. เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องวัสดุและสสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
4 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามเกณฑ์มาตรฐาน
80/80 ประชากร เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 23 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่าง
เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เป็นเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
ที่ใช้ในการทดลองเพื่อการศึกษาคะแนนทักษะทางการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่องวัสดุและสสาร
จำนวน 1 หน่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ 1.
ชุดแบบฝึกทักษะ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุและสสาร 2. แบบทดสอบวัดคะแนนทักษะทางการเรียน เรื่องวัสดุและสสาร
โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าผลต่างคะแนน ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินพฤติกรรมกลุ่มระหว่างเรียนและการทำแบบฝึกทักษะของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุและสสาร โดยใช้แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 คน มีค่าเท่ากับ 81.95
จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.95 ของคะแนนเต็ม
และคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดคะแนนทักษะทางการเรียนหลังเรียน เท่ากับ 85.62
จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน
คิดเป็นร้อยละ 85.62
ของคะแนนเต็ม ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ วิทยาศาสตร์
เรื่องวัสดุและสสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.95/85.62
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
นักเรียนทุกคนมีผลคะแนนที่ดีขึ้นหลังจากใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนในภาพรวม
ซึ่งมีค่าเฉลี่ยผลรวมคะแนนก่อนเรียนเป็น 5.12 คะแนน และค่าเฉลี่ยผลรวมคะแนนหลังเรียนเป็น
8.07 คะแนน และมีค่าผลต่างคะแนนพัฒนาการ +2.95 คะแนน คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น 57.61% ซึ่งผลการวิจัยนี้จะช่วยยกระดับคะแนนทักษะทางการเรียนในรายวิชาของนักเรียนให้สูงขึ้นได้ต่อไป