ชื่อเรื่อง การแก้ไขปัญหานักเรียนเน้นเสียงหนักเบา (Word Stress) ในภาษาอังกฤษ โดยบูรณาการการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย จินตรา คาลา
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 13 ธันวาคม 2567
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนเน้นเสียงหนักเบา
(Word
Stress) ในภาษาอังกฤษ โดยบูรณาการการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเน้นเสียงหนักเบา (Word
Stress) ในภาษาอังกฤษ และ
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเน้นเสียงหนักเบา (Word
Stress) ในภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร
ในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2566
กลุ่มตัวอย่างได้แก่
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ปีการศึกษา 2566
จำนวน 55 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive
Sampling)
โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกได้เลือกจากการที่กลุ่มตัวอย่างมาเรียนในวันจันทร์
ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ
แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ออนไลน์จากเว็บไซต์ ภาษาน่ารู้กับครูจินตรา สื่อการเรียนรู้ออนไลน์จากเว็บไซต์
jintjint.com และแบบฝึกทักษะการเน้นเสียงหนักเบา (Word
Stress) ในภาษาอังกฤษ
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ครูผู้สอนนำแบบทดสอบก่อนเรียน
PHONETICS - WORD STRESS (Pre-test) ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อดูระดับความสามารถของนักเรียน
2.
ครูผู้สอนสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ Word Stress ให้กับนักเรียน โดยใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์จากเว็บไซต์
ภาษาน่ารู้กับครูจินตรา และสื่อการเรียนรู้ออนไลน์จากเว็บไซต์ jintjint.com
3. ครูผู้สอนนำแบบฝึกทักษะการเน้นเสียงหนักเบา (Word Stress) ในภาษาอังกฤษ ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
4. ครูผู้สอนนำแบบทดสอบหลังเรียน
PHONETICS - WORD STRESS (Post-test) ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเน้นเสียงหนักเบา
(Word Stress) ในภาษาอังกฤษ
ผลการวิจัย
ตอนที่ 1
ประสิทธิภาพระหว่างการใช้แบบฝึกทักษะการเน้นเสียงหนักเบา
(Word Stress) ในภาษาอังกฤษ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับร้อยละ 80.42
ประสิทธิภาพหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเน้นเสียงหนักเบา (Word Stress) ในภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับร้อยละ 82.18
ตอนที่
2
ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 5.85 คะแนน คะแนนก่อนเรียนสูงสุดเท่ากับ 9 คะแนน
และคะแนนก่อนเรียนต่ำสุดเท่ากับ 2
คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน
มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.57
ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 12.07 คะแนน
คะแนนหลังเรียนสูงสุดเท่ากับ 20
คะแนน และคะแนนหลังเรียนต่ำสุดเท่ากับ 11
คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน
ค่าเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ 10.73 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 53.64 ค่าความก้าวหน้าสูงสุดเท่ากับ 15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75 และค่าความก้าวหน้าต่ำสุดเท่ากับ 5 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 25