Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning) โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี

ผู้วิจัย นางปาณิสรา รองเมือง

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 16 ธันวาคม 2567

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง               การพัฒนารูปแบบการบริหารการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning)
                       โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (
Community-Based Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต

                       และงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี
ผู้วิจัย                 นางปาณิสรา รองเมือง

สถานศึกษา        โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ตําบลตระกาจ อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
                       สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

ปีที่ทำการวิจัย       ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

 

บทคัดย่อ

 

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวทางในการเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพของนักเรียน การเรียนรู้แบบองค์รวม และการใช้ชุมชนเป็นฐานของโรงเรียน
ตระกาศประชาสามัคคี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารการเรียนรู้แบบองค์รวม (
Holistic Learning)
โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (
Community-Based Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning) โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียน   ตระกาศประชาสามัคคี และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning) โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ตําบลตระกาจ อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ รูปแบบการบริหารการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning) โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี และคู่มือ  2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการพัฒนา แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบองค์รวมของครู แบบประเมินทักษะชีวิตและงานอาชีพสำหรับนักเรียน และแบบประเมินผลการใช้รูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ     ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

           ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

               1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวทาง และความต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการพัฒนาด้านการใช้ชีวิต การทำงาน และการอยู่ในสังคมยุคใหม่ได้อย่างเป็นสุขมากกว่ามุ่งหวังในด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเพียงอย่างเดียว โรงเรียนมีการนำเทคนิคการบริหารจัดการสถานศึกษาแนวใหม่ การจัดการเรียนรู้แนวใหม่มาประยุกต์ใช้ แต่โรงเรียนยังไม่มีรูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพที่ชัดเจน

               2. รูปแบบการบริหารการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning) โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการบริหารการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning) โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning) ด้วยการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ Whole School Transforming: 7 Change (7C) 5 ประการ คือ 4.1) นักเรียนรู้จักตัวตน
4.
2) ค้นพบเป้าหมายชีวิต 4.3) ร่วมคิดร่วมพัฒนา 4.4) ศึกษาเรียนรู้ และ 4.5) ประยุกต์สู่ชุมชน
และ 5) การวัดและประเมินผล ซึ่งรูปแบบมีผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด

               3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning) โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี พบว่า

                   3.1 ความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning) ของครู โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
                   3.2 คุณภาพนักเรียนเพื่อให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เติบโตอย่างสมดุล Head (การพัฒนาความรู้ที่จำเป็น) Heart (การพัฒนาคุณค่าภายใน) Hand (การพัฒนาทักษะที่สำคัญ) ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด

                   3.3 ทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนในภาพรวม    อยู่ในระดับ มากที่สุด

               4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning)
โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (
Community-Based Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ในภาพร
วมอยู่ในระดับ มากที่สุด