ชื่อเรื่อง นวัตกรรม วิธีการที่เป็นเลิศ (Best practice) ด้านการบริหารเพื่อพัฒนาการศึกษาปฐมวัย โดยใช้รูปแบบ CHILD ES MODEL การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาปฐมวัย
ผู้วิจัย โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 19 ธันวาคม 2567
บทคัดย่อ
โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ มีการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนสอนตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน มีการอบรมเลี้ยงดูการพัฒนาและให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นตอนของพัฒนาการทุกด้านอย่างเป็นองค์รวม และมีคุณภาพและเต็มตามศักยภาพ โดยมีการบริหารเพื่อพัฒนาการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพโดยใช้รูปแบบ CHILD ES Model การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนอย่างสมดุลรอบด้าน เพื่อให้เด็กปฐมวัยเป็นคนดีมีความสามารถ และได้รับการพัฒนาในทุกด้าน เป็นรูปแบบการบริหารที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียนทำให้ได้นวัตกรรมสำหรับรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนบ้านตะโละหะลอ โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (P-D-C-A) ในการดำเนินงานทำให้การบริหารจัดการศึกษาบรรลุตามเป้าหมาย มีรายละเอียดของการพัฒนานวัตกรรม CHILD ES Model ในการบริหารโรงเรียนคุณภาพ
C = Curriculum หลักสูตร
มีหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยเน้นพัฒนาการทั้ง
4 ด้านสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
และสอดคล้องกับจุดเน้นสถานศึกษา วิถีชีวิตของครอบครัว เศรษฐกิจพอเพียง
ชุมชนและท้องถิ่น
H = Heart ใจ
มีการสร้างความสุขในองค์กร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนจากภายใน โดยพัฒนากระบวนการคิด การเปลี่ยนแปลงจากภายในใจ เพื่อมุ่งให้เกิดพฤติกรรมในองค์กรที่สร้างสรรค์ มีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน รู้จักการแบ่งปัน รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันกับคนในองค์กรได้อย่างมีความสุข
I = Innovation นวัตกรรม
มีนวัตกรรม/วิธีการที่เป็นเลิศ (Best practice) ด้านการบริหารเพื่อพัฒนาการศึกษาปฐมวัย
ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่มีผลต่อการพัฒนาเด็กทุกด้าน และครูมีนวัตกรรมเชิงประจักษ์
L = Learning เรียนรู้การจัดประสบการณ์
ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์
และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเชิงรุก Active Learning เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลาย
D = Design ออกแบบโครงการหรือกิจกรรม
มีโครงการหรือกิจกรรมสนับสนุนการจัดประสบการณ์เสริมสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมและครบทั้ง
4 ด้าน ได้แก่ โครงการพัฒนาคุณาพการจัดการศึกษาปฐมวัย โครงการวิทยาศาสตร์น้อย
โครงการพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครองปฐมวัย โครงการลูกเสือน้อย โครงการบัณฑิตน้อย
โครงการกีฬาสีต้านภัยยาเสพติด โครงการทัศนศึกษา โครงการวันปีใหม่
E = Environment สภาพแวดล้อม
มีการสนับสนุนสื่อการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ได้แก่สื่อการสอนตามหน่วยการเรียนรู้ มุมประสบการณ์ในชั้นเรียน
มีสื่อเทคโนโลยีโทรทัศน์อินเตอร์เน็ตที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในทุกชั้นเรียน มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
และมีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ สวนเศรษฐกิจพอเพียง
สนามเด็กเล่นตามรอยพระยุคลบาท ลาน PLAY AND LEARN ศูนย์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(กริซรามันห์) บึงน้ำใส
ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสม
S = Supervision ความกำกับดูแล
มีกระบวนการนิเทศ กำกับ
ติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบกัลยาณมิตร