Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity–based Learning: CBL) ร่วมกับกลวิธีการอ่านแบบ REAP และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

ผู้วิจัย นางสาวอรทัย สมจริง

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 20 ธันวาคม 2567

บทคัดย่อ

รายงานการวิจัยเรื่อง   การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active  Learning) โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity–based Learning: CBL) ร่วมกับกลวิธีการอ่านแบบ REAP และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2566 

 

ชื่อเจ้าของผลงาน  นางสาวอรทัย   สมจริง          ตำแหน่ง  ครู  โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์

                      สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง  กระบี่

 

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity–based Learning : CBL) ร่วมกับกลวิธีการอ่านแบบ REAP และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity–based Learning : CBL) ร่วมกับกลวิธีการอ่านแบบ REAP และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ก่อนใช้นวัตกรรมกับหลังการใช้นวัตกรรมเรียน  และมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ75  ของคะแนนเต็ม

 

          กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ จังหวัดตรัง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 27 คน จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity–based Learning : CBL) ร่วมกับกลวิธีการอ่านแบบ REAP และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม จำนวน 3 แผนการเรียนรู้ เวลา 8 ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการได้แก่ แบบบันทึกการจัดกิจกรรมของครู แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน และแบบทดสอบ  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลปฏิบัติการได้แก่ แบบวัดความสามารถด้านการอ่าน  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน           

          ผลการวิจัยพบว่า

              1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active  Learning) โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity–based Learnin : CBL) ร่วมกับกลวิธีการอ่านแบบ REAP และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
              2) )  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active  Learning) โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity–based Learning : CBL) ร่วมกับกลวิธีการอ่านแบบ REAP และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 

คำสำคัญ 
         
รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity–based Learning: CBL),  กลวิธีการอ่านแบบ REAP และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม