ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางโสรายา ชุมประเวศ
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 23 ธันวาคม 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์
MD2P
Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่
3 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพปัญหาด้านการจัดประสบการณ์
เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P
Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์
MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่
3 ประกอบด้วย 3.1)
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่
3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์
MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่
3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์
3.2) เพื่อศึกษาการขยายผลการนํารูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้ผ่านการหาประสิทธิภาพแล้วไปใช้ในสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ
นักเรียนชาย-หญิงอายุ 5-6 ปี
ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2566 จำนวน 23 คน โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเป็นเนื้อหาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2560 สาระการเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
จำนวน 8 หน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย หน่วยหนูทำได้ หน่วยกินดีอยู่ดี
มีสุข หน่วยของเล่นของใช้ หน่วยบ้านแสนสุข
หน่วยสัตว์โลกน่ารัก หน่วยต้นไม้ที่รัก หน่วยปลอดภัยในยานพาหนะ
และหน่วยดอกไม้แสนสวย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม
2566
ถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2566 เป็นเวลา 8
สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
เครื่องมือใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P
Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่
3 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P
Model และแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามกรอบรูปแบบการจัดประสบการณ์
MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่
3 3) แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ5) แบบประเมินการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์
MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่
3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของครูปฐมวัยโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี)
ก่อนดำเนินการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาโดยภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.67, S.D.=0.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัญหาด้านการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด
(=4.81,S.D.=0.13)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Motivation :
M) ขั้นที่ 2 ขั้นตัดสินใจ (Decide : D) ขั้นที่
3 ขั้นเล่นและเรียนรู้ (Play and Learn : P) ขั้นที่
4 ขั้นนำเสนอผลงาน
(Presentation : P)มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.80,S.D.=0.38)
3. ผลการศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์
MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
ดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่
3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า มีทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์
สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05