ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย แวโรสณา เจ๊ะสมาแอ
ปีการศึกษา 2562
วันที่เผยแพร่ 27 ธันวาคม 2567
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวแวโรสณา เจ๊ะสมาแอ
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ครูผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการสอนจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกคนยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้พัฒนาตนเองได้การพัฒนารูปแบบการสอนจึงเป็นวิธีการสร้างเครื่องมือที่จะช่วยพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 2) เพื่อประเมินผลรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติการกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์จำนวน5คนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5/1โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ สังกัดเทศบาลเมืองปัตตานีจำนวน30คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 แบบทดสอบวัดทักษะการคิดที่เป็นแกนและแบบวัดเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี
(Mixed-method Methodology)2 ขั้นตอนคือขั้นตอนที่ 1 สร้างและพัฒนารูปแบบการสอนโดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ขั้นตอน ที่ 2 ประเมินรูปแบบการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญและทดลองใช้ในสถานการณ์จริงหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนตามเกณฑ์80/80หาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการคิดของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและศึกษาเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานร้อยละและ
t-test (DependentSamples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1.
รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 มี 5 องค์ประกอบคือ 1) หลักการของรูปแบบการสอน2) จุดประสงค์ 3) สาระและเนื้อหา 4) กิจกรรมและขั้นตอนการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์แบบ
PEPCEEมี 6 ขั้นดังนี้ขั้นเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
(Preparation) ขั้นดึงความคิดเพื่อระบุคำถามหรือความรู้ใหม่ที่ต้องการ
(Engagement) ขั้นกำหนดแนวทางและปฏิบัติในการสร้างความรู้ใหม่
(Practice) ขั้นสรุปประเด็นโครงสร้างใหม่ทางปัญญาด้วยตนเอง
(Conclusion) ขั้นขยายโครงสร้างทางปัญญาหรือความรู้ใหม่
(Elaboration) และขั้นนำความรู้ใหม่ไปใช้ (Extension)และ 5) การวัดและประเมินผล
2.
รูปแบบการสอนเชิงทฤษฏีมีความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบอยู่ในระดับมากและแผนการเรียนรู้ที่พัฒนาตามรูปแบบการสอนมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3.
ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนเท่ากับ87.92/83.61และมีดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเท่ากับ .74นอกจากนี้นักเรียนมีทักษะการคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 และมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับมากโดยสรุปรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมนักเรียนมีทักษะการคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและนักเรียนมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ในระดับมากจึงควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์นำรูปแบบการสอนนี้ไปใช้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการคิดที่จำเป็นต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานทักษะการคิดขั้นสูงต่อไป