Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนซับใหญ่วิทยาคม โดยใช้สื่อมัลติมีเดียในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

ผู้วิจัย ประวิทย์ ประจักษ์จิต

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 29 ธันวาคม 2567

บทคัดย่อ

ชื่อผลงาน : การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนซับใหญ่วิทยาคม  โดยใช้สื่อมัลติมีเดียในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

ชื่อผู้เสนอผลงาน : นายประวิทย์ ประจักษ์จิต

กลุ่มสาระการเรียนรู้ : ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน)

ระดับการศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 5

หน่วยงาน/สถานศึกษา : โรงเรียนซับใหญ่วิทยาคม

หน่วยงานต้นสังกัด : สพป.ชัยภูมิ เขต 3

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ : โรงเรียนซับใหญ่วิทยาคม .1 .ซับใหญ่ อ.ซับใหญ่ จ.ชัยภูมิ 36130 

โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 097-3433194         E-mail : [email protected]

รายละเอียดการจัดส่งผลงาน ดังต่อไปนี้

1. ความสำคัญของรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

          การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา          การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสื่อสาร     มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คน    มีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้ การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน

          การสื่อสารหลายภาษาจะช่วยขับเคลื่อนความสามารถในด้านต่าง ๆ และช่วยเปิดรับโอกาสใหม่    ในการก้าวสู่ระดับโลก การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศ และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ง่าย และกว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานซึ่งกำหนดให้เรียนตลอดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คือ ภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่นจีน ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อาหรับ บาลี และภาษากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน หรือภาษาอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จัดทำรายวิชาและจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม

          ในสังคมโลกปจจุบัน สาธารณรัฐประชาชนจีนมีบทบาทสูงในการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนและในภูมิภาคตาง ๆ ของโลก และมีแนวโนมที่จะขยายบทบาทในประชาคมโลกอยางตอเนื่อง ภาษาจีนนับเป

ภาษาตางประเทศที่มีความสําคัญภาษาหนึ่ง ซึ่งมีผูใชมากเกือบ 2,000 านคนทั่วโลก และเปนภาษาหนึ่งขององคการสหประชาชาติ ภาษาจีนเปนภาษาตางประเทศหนึ่งที่มีความจําเปนในการติดตอสื่อสาร และความรวมมือดานเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันของประเทศเปนอยางยิ่ง เนื่องจากสังคมไทยเกิดกระแสนิยมการเรียนภาษาจีนเพิ่มมากขึ้นอยางรวดเร็ว ทั้งเพื่อนําไปใชในการปฏิสัมพันธวมมือทางการคาและเศรษฐกิจ และเพื่อใชในภาคบริการตาง ๆ ของสังคมที่จําเปนตองใชภาษาจีนในการ    ติดตอสื่อสาร จึงทําใหประชากรกลุมตาง ๆ สนใจเรียนภาษาจีนมากยิ่งขึ้น กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสําคัญและความจําเปนของการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย เพื่อสรางสังคมฐานเศรษฐกิจที่อาศัยภาษาจีนเปนเครื่องมือของการสื่อสาร จึงไดกําหนดยุทธศาสตรปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย เพื่อใหการเรียนการสอนภาษาจีนมีประสิทธิภาพ สอดคลองกับความตองการและกาวสูมาตรฐานอันเปนที่ยอมรับในระดับสากลในการพัฒนาระบบการเรียนการสอนภาษาจีนใหมีประสิทธิภาพ หลักสูตรที่ไดมาตรฐาน โดยกําหนดมาตรฐานการวัดและสาระการเรียนรูภาษาจีนเปนชั้นปเพื่อเปนแนวทางสําหรับสถานศึกษาในการนําไปใชใหเหมาะสมกับผูเรียนและสภาพการเรียนการสอนในโรงเรียน

โรงเรียนซับใหญ่วิทยาคมเล็งเห็นความสำคัญของการเรียนการสอนและพัฒนาความสามารถทางภาษาของผู้เรียน จึงได้จัดวิชาภาษาจีนเป็นวิชาที่อยู่ในกลุ่มวิชาเพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                โดยมีคำอธิบายรายวิชาดังนี้ วิชาภาษาจีน มี 4 ทักษะ คือ การฟัง พูด อ่าน เขียน ศัพท์ภาษาจีนขั้นพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การสนทนาขั้นพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การบอกทิศทาง การบรรยายเกี่ยวกับโรงเรียนหรือสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น ฝึกทักษะการใช้ภาษาจีนขั้นพื้นฐาน ในการสนทนาโดยปฏิบัติตามคำแนะนำ คำชี้แจง คำอธิบาย และคาบรรยายที่ฟัง เลือกใช้ภาษา นำเสียงและกิริยาท่าทางเหมาะกับระดับของบุคคล โอกาส และสถานที่ตามมารยาทสังคม และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา  โดยใช้ทักษะกระบวนการทางภาษา การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด        ความเข้าใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ ไปใช้  ในชีวิตประจำวัน เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษา เข้าใจถ่ายทอดภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ด้วยกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาด้วยกระบวนการเรียนรู้ทางภาษา นอกจากนี้ ผู้วิจัยสังเกตได้ว่า ผู้เรียนชอบที่จะเรียนรู้โดยการใช้สื่อหรือกิจกรรมเสริมร่วมจากการทำงาน เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการสื่อได้มาก จึงกิจกรรมเสริมที่ผู้เรียนให้ความสนใจ โดยมีวิธีที่หลายหลาย เช่น การจับคู่สนทนา การเล่นเกม การดูหนัง ฟังเพลงจีน ดังนั้น การสื่อสารจึงมีความสำคัญต่อทักษะการคิด วิเคราะห์ ช่วยในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมของผู้เรียน 

 

2. กระบวนการพัฒนารูปแบบหรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

          2.1 จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

                1) เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนของของนักเรียน

                2) เพื่อสร้างให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน

 

          2.2 เป้าหมาย

               นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนซับใหญ่วิทยาคม ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

 

 

 

          2.3 หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่ใช้ในการพัฒนา/ออกแบบ

               1) หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาจีน) (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2564) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง  พุทธศักราช 2560)

               2) หลักการ/ทฤษฎีเกี่ยวกับการจำ

               3) หลักการ/ทฤษฎีเกี่ยวกับทักษะการสื่อสาร

               4) เทคนิคการสอนแบบหลายหลายตามความต้องการของผู้เรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


กรอบแนวคิด

 

 

 

3. กระบวนการผลิตและขั้นตอนการดำเนินงานผลงานนวัตกรรม

          1) Input (ตัวป้อน)

    กำหนดเป้าหมายการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ร่างนวัตกรรมที่สามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ความสามารถด้านการสื่อสารหลังการพัฒนาสูงขึ้นและนักเรียนเจตคติที่ดีต่อภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน จากนั้นศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.. 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (วิชากาษาจีน) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาออกแบบนวัตกรรม ศึกษาข้อมูล เลือกรูปแบบนวัตกรรมที่เหมาะสม ได้แก่ การใช้สื่อมัลติมีเดียใน การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ซึ่งมีความเหมาะสมกับนักเรียน สามารถออกแบบกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะการสื่อสารที่หลากหลาย ง่ายและที่สะดวกต่อการจัดการเรียนรู้

          2) Process (กระบวนการ)

&nbs