ชื่อเรื่อง การพัฒนาการนับและการรู้ค่าจำนวน 1-10 ในยุค Digital Transformation
ผู้วิจัย นางศิรินทิพย์ วัฒนวาณิชย์
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 21 มกราคม 2568
บทคัดย่อ
ความเป็นมา
จากการที่ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่
2 เด็กส่วนใหญ่ในชั้นเรียนสนใจ
เข้าร่วมกิจกรรมและทำงานตามที่ครูกำหนดให้ ส่วนพัฒนาการทางด้านคณิตศาสตร์ เด็กส่วนใหญ่ยังบอกค่าของจำนวน
1–10 ไม่ได้ จึงทำให้เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ไม่สามารถทำแบบฝึกหัดได้ เช่น เติมจำนวนที่ขาดหายไปไม่ได้ บอกค่าของจำนวนที่น้อยกว่าและมากกว่าไม่ได้
แทนค่าจำนวนด้วยตัวเลขไม่ได้ วาดภาพตามจำนวนที่กำหนดให้ไม่ได้
วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย
เพื่อแก้ไขปัญหาเด็ก
10 คน ให้สามารถจำตัวเลข 1–10 ได้ และบอกค่าของจำนวน
1–10 ได้
ประชากรที่ศึกษา
เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่
2 จำนวน 10 คน โรงเรียนบ้านสนามบิน(ประชาศึกษา) ตำบลบ้านกล้วย
อำเภอเมือง
จังหวัดสุโขทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย
เขต1
ระยะเวลาในการวิจัย
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เครื่องมือในการวิจัย
1. ชุดฝึกการนับจำนวน 1–10
(ใบงาน สอน on-hand)
2. ชุดฝึกการถามและตอบตัวเลขทีละตัว
(ผู้ปกครองอัดคลิปส่งครู)
3. ชุดฝึกการรู้ค่าของจำนวน
(แบบฝึกหัดการเขียนตามแบบตัวเลข แบบฝึกหัดการจับคู่
ภาพกับจำนวนที่เท่ากัน แบบฝึกเติมจำนวนที่ขาดหายไป แบบฝึกหัดหาค่าของจำนวน มากกว่า
หรือน้อยกว่า แบบฝึกหัดวาดภาพตามจำนวนที่กำหนด) (แบบฝึกหัด
ใบงาน สอน on-hand)
4. ชุดแบบฝึกการแทนค่าตัวเลขด้วยรูปวาด
(ใบงาน สอน on-hand)
วิธีการวิจัย
1. ฝึกการนับจำนวน 1–10 โดยใช้ชุดฝึกการนับจำนวนทุกวันจนคล่อง
2. ทดสอบการถามตอบตัวเลข
1–10 ทีละตัว โดยใช้ชุดฝึกการถามและตอบตัวเลข
3. ทำแบบฝึกหัดจากชุดฝึกที่ครูจัดทำขึ้น
4. จากข้อ 1–3 ทำการฝึกเด็กในแต่ละข้อจนเด็กปฏิบัติได้ชำนาญก่อนจึงเริ่มฝึกในข้อ
ถัดไป
ผลการวิจัย
เมื่อเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ได้ฝึกตามขั้นตอนของชุดฝึกที่กำหนดให้แล้ว เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่
2 สามารถนับเลข 1–10 ได้ ชี้บอกตัวเลขที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง
จับคู่ภาพกับจำนวนได้ เขียนตัวเลขที่
ขาดหายไปได้ บอกจำนวนที่มีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าได้ แทนค่าตัวเลขด้วยรูปภาพต่างๆ ส่วนการทำแบบฝึกแต่ละชุด
ถ้าเด็กได้ฝึกทำบ่อยๆ จะทำให้เด็กเกิดความชำนาญและเป็นพื้นฐานในการจำตัวเลขและทำให้รู้ค่าของจำนวนที่มากกว่าสิบได้