ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
ผู้วิจัย คม พิริยวุฒิกรอุดม
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 9 มีนาคม 2568
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) สร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนใช้แบบประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบโดยการศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญยกร่างและตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบกับครู 30 คน และนักเรียนชั้น ม. 1 - 6 จำนวน 365 คน และ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบโดยครู 30 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) จุดประสงค์ 3) กลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพวิชาการ กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้คุณภาพ กลยุทธ์ที่ 5 การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และ 4) ผลลัพธ์จากการพัฒนา ได้แก่ ผลลัพธ์ตรง คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4 กลุ่มสาระฯ ผลลัพธ์ตาม คือ ผลการพัฒนาตามกลยุทธ์ 5 กลยุทธ์ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 80.40 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า โดยรวมมีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก
Abstract
The aims of this research were: (1) to study the needs and necessities of a development model for strategic management achievement for students at Queen College School, (2) to develop a model of strategic management achievement for students at Queen College School, (3) to experiment with the development model of strategic management achievement for students at Queen College School, and (4) to assess the development model of strategic management achievement for students at Queen College School. The research was carried out in four steps: Step 1 involved studying the needs and necessities of a development model for strategic management achievement for students at Queen College School using a needs assessment. Step 2 focused on developing the model by studying and analyzing relevant documents and interviewing experts, followed by drafting and checking the suitability and feasibility of the model with expert input. The tools used in this step included interview forms and model assessment forms. Step 3 involved testing the model with 30 teachers and educational personnel, as well as 365 students in grades 1–6. Step 4 involved evaluating the model with feedback from 8 teachers and assessment personnel. The statistical methods used included the mean and standard deviation (S.D.).
The results of the study were as follows: (1) the study of the needs and necessities of a development model for strategic management achievement for students found that the overall level was at the highest level, (2) the model of strategic management achievement for students consisted of four components: principles, objectives, and five strategies for improving learning achievement: Strategy1: Academic quality development, Strategy 2: Learner quality development, Strategy 3: Teacher and educational personnel development, Strategy 4: Media and learning resource development, and Strategy 5: Building community engagement in educational management. The results of the development were as follows: The output was the learning achievement in 4 departments, and the outcome was the result of development according to all 5 strategies. It was found that the model was appropriate, and its feasibility was at a high level, (3) the results of the experiment using the strategic management model to improve students' learning achievements showed that the students' overall achievement scores were 80.40, which was higher than the target set, and (4) the results of the assessment of the strategic management model to improve students' learning achievements showed that, overall, it was feasible. The suitability and usefulness were at a high level.