ชื่อเรื่อง การฝึกปฏิบัติกิจกรรมประจำวันของเด็กบกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้ภาพและการเสริมแรงในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอ่างทอง(หน่วยบริการไชโย)
ผู้วิจัย นางสาวนันฐลิดา กุลนันท์ฐิติโชติ
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 31 มีนาคม 2568
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของการฝึกปฏิบัติกิจกรรมประจำวันโดยใช้ภาพและการเสริมแรงเพื่อเพิ่มการปฏิบัติกิจกรรมประจำวันของเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองด้วย single subject design รูปแบบ A-B-A
3 ระยะ
เก็บข้อมูลผลของการฝึกปฏิบัติกิจกรรมประจำวันของเด็กบกพร่องทางสติปัญญา จากตัวอย่าง ๑ ราย
ประกอบด้วยขั้นตอนการทดลอง ๓ ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะเส้นฐาน (A1) ใช้เวลา 1
สัปดาห์ ระยะที่ 2 ระยะระหว่างการทดลอง (B) ใช้เวลา 5
สัปดาห์ และระยะที่ 3 เป็นระยะหลังการทดลอง (A2) ใช้เวลา 1
สัปดาห์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)
แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน 2)
ชุดรูปภาพการปฏิบัติกิจกรรมประจำวันพร้อมคู่มือ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน
ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตารางและกราฟเส้น
แล้วนำมาเขียนรายงานการวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า เด็กบกพร่องทางสติปัญญาสามารถปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้ดีขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบผลการเก็บข้อมูลทั้ง 3 ระยะ สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ดังนี้
คือระยะก่อนทดลองค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0 คะแนน
ระหว่างการทดลองค่าเฉลี่ย เท่ากับ 6.72 คะแนน และหลังการทดลองค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.80 คะแนน เมื่อพิจารณาการฝึกปฏิบัติกิจกรรมประจำวันโดยใช้ภาพ
ทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันพบว่า
ทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น